บทความทั้งหมด INTERVIEW LIFESTYLE ความรู้ คุณหมอตอบคำถาม แม่บ้านคีโม

ธีรดา กิตติศิริประเสริฐ : ถึงกลัวแค่ไหน…แต่ใจสู้!

เดือนนี้ TBCC ชวนทุกคนมาสัมผัสเรื่องราวชีวิตหลังเผชิญหน้ากับมะเร็งเต้านมของ วานวาน-ธีรดา กิตติศิริประเสริฐ นักแสดงและสตันต์หญิงดีกรีมหาบัณฑิตปริญญาโท คณะโบราณคดี จากรั้วมหาวิทยาลัยศิลปากร เจ้าของผลงานมากมายทั้งโฆษณาไทยและเทศ รวมถึงภาพยนตร์หลากหลายเรื่อง โดยหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ต้มยำกุ้ง 2’ ที่หลายคนน่าจะคุ้นหน้าคุ้นตาเธอในบทบาท ‘ซือซือ’ ฝาแฝดของจีจ้า ญาณิน

5 อาหารชะลอวัย สวยใส ห่างไกลมะเร็ง

หลังจบการรักษามะเร็งเต้านม เชื่อว่าสาวๆ หลายคนคงกังวลใจเรื่องความสวยอยู่บ้างไม่มากก็น้อย เดือนนี้ TBCC จึงขออาสารวบรวม 5 อาหารชะลอวัยที่ให้สาวๆ สามารถสวยใสได้ แถมห่างไกลมะเร็งด้วยมาฝาก…

ผัดตับใส่ดอกหอม

เดือนนี้แม่บ้านคีโมขอต้อนรับลมร้อนด้วยเมนู ‘ผัดตับใส่ดอกหอม’ ซูเปอร์ฟู้ดที่ไม่ได้มีดีแค่รสชาติ แต่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่บอกได้เลยว่า นอกจากอร่อยลิ้น ยังอิ่มสุขภาพแน่นอน!

ระหว่างการรักษามะเร็ง น้ำหนักเกินทำอย่างไรดี

อีกหนึ่งคำถามที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยมะเร็งหลายคนว้าวุ่นใจไม่น้อย หากน้ำหนักเกินมาตรฐานระหว่างการรักษา ควรทำอย่างไรดี วันนี้คุณหมอซัง-พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง มีคำตอบมาฝาก

อาการข้างเคียงจากเคมีบำบัดอย่างอาการชาตามปลายมือปลายเท้านั้น สามารถใช้โภชนาการบำบัดได้หรือไม่

อีกหนึ่งอาการข้างเคียงจากเคมีบำบัดที่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มักจะเจอ วันนี้อาจารย์แบงค์-ดร.กมล ไชยสิทธิ์ นายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ มีทางออกมานำเสนอ

ดร.พัทธนันท์ เนาว์ในสิน : มะเร็ง ณ ชั่วขณะหนึ่ง

เดือนนี้ชวนทุกคนมาสัมผัสเรื่องราวของผู้หญิงแกร่ง พี่ก้อย-ดร.พัทธนันท์ เนาว์ในสิน อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดเฮอร์ทูที่เผชิญมะเร็งมาถึง 3 ครั้ง 3 ครา และปัจจุบันเธอก็ยังคงใช้ชีวิตอยู่กับมะเร็งด้วยหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยความหวังและกำลังใจ

HOW TO : มาสร้างพลังวิเศษจาก ‘กำลังใจ’ เราเอง

เดือนนี้ TBCC ขอชวนทุกคนมาสร้างพลังวิเศษจาก ‘กำลังใจ’ ของใครคนหนึ่งที่มีเวลาว่างให้เราเสมอ และเขารู้ด้วยว่าเราต้องการกำลังใจแบบไหน หากอยากรู้ว่าคนนั้นเป็นใครและจะสร้างพลังวิเศษได้อย่างไร ตามไปอ่านกันได้เลย…

ข้าวปั้นเกาหลี

เดือนนี้แม่บ้านคีโมขอชวนทุกคนมาเนรมิตของเหลือติดตู้เย็นเป็นเมนูใหม่ที่ทำง่าย อร่อยได้ไม่ยากอย่าง ‘ข้าวปั้นเกาหลี’ อีกหนึ่งเมนูที่สามารถสร้างสีสันในวันร้อนๆ ให้ทุกคนในครอบครัวได้เป็นอย่างดี 

มะเร็งเต้านมระยะ 0-1-2-3 หายขาดได้จริงหรือ

นับเป็นอีกหนึ่งคำถามสุดฮอตที่คุณหมอมักจะถูกถามอยู่เป็นประจำ สำหรับมะเร็งเต้านมระยะใดหายขาดได้บ้าง วันนี้คุณหมอซัง-พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็งมีคำตอบมาฝาก

จบการรักษามะเร็งเต้านมมา 2 ปีกว่าแล้ว แต่ทำไมมือ-เท้ายังมีอาการชาอยู่ ควรจัดการอย่างไรดี

อาการชาตามมือและเท้านั้น ถือเป็นอาการข้างเคียงจากเคมีบำบัดที่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลายๆ ท่านพบเจอและไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไร วันนี้คุณหมอส้ม- รศ. พญ.นภา ปริญญานิติกูล อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา หน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีข้อแนะนำมาฝาก

ดาวรัชช์ ปรีชาธรรม : มะเร็งไม่ร้ายเท่า ‘ใจ’ ที่อ่อนแอ

ในเดือนแห่งความรัก TBCC ชวนทุกคนมาสัมผัสเรื่องราวของ พี่ดาว-ดาวรัชช์ ปรีชาธรรม ที่ปรึกษา เทรนเนอร์ และโค้ชทางธุรกิจ (Business Coach) วัย 60 กะรัต อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ระยะ 2 เจ้าของผลงาน ‘มะเร็งไม่ร้าย (เท่าใจที่อ่อนแอ)’

HOW TO : เลือกหมวกยังไง…ในวันที่ไร้ผม

ในวันที่ไร้ผมอย่างช่วง ‘คีโม’ หมวกนับเป็นตัวเลือกอันดับแรกๆ ที่บรรดาคีโมเกิร์ลเลือกใช้ ด้วยความที่ใช้งานง่าย สะดวก แค่หยิบมาสวมใส่ก็เป๊ะปังได้ในทันที วันนี้ TBCC จึงอยากชวนทุกคนมาปลุกไฟแฟชั่นนิสต้าในตัวให้ลุกโชน ด้วยการเลือกหาหมวกสักใบที่เหมาะกับคุณ! 

ผัดหมี่สีชมพู

เดือนแห่งความรักทั้งที แม่บ้านคีโมจึงอยากชวนทุกคนมาเติมความหวานช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ให้กับตัวคุณเองและคนที่คุณรักด้วย ‘ผัดหมี่สีชมพู’ เมนูที่อาจจะดูธรรมดาๆ แต่รับรองว่าอบอวลไปด้วยมวลแห่งความรักแน่นอน

อาหารต้องห้ามของผู้ป่วยมะเร็งมีอะไรบ้าง

ถือเป็นคำถามที่ถูกถามบ่อยอีกหนึ่งคำถามว่า มีอาหารอะไรบ้างที่ไม่ควรรับประทานเมื่อป่วยเป็นมะเร็ง วันนี้ คุณหมอซัง-พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ และจิตตะไลฟ์เซ็นเตอร์ มีคำตอบมาฝาก

การดื่มชาเขียวลดความเสี่ยงและการกลับเป็นซ้ำจริงหรือไม่

เพราะในชาเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระ และผลต่อเซลล์มะเร็ง แต่การดื่มชาเขียวทุกวันจะช่วยลดความเสี่ยงและการกลับมาเป็นซ้ำได้จริงหรือไม่ วันนี้ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ นายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ มีคำตอบให้

ธีวรา วีรยวรรธน : สุข (ให้) ได้…แม้กายป่วย

เดือนนี้ TBCC ขอมาส่งความสุขด้วยเรื่องราวสุขๆ ของ อ้อ-ธีวรา วีรยวรรธน อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด HER2 Positive ระยะ 3 ศิลปินนักสร้างสรรค์ขนมหวานให้กลายเป็นงานศิลป์ เจ้าของ ‘Teewara_sweethome’ ร้านขนมออนไลน์ที่เน้นขายความสุขแห่งเมืองเชียงใหม่

วิ่งวันละนิด พิชิตโรค

เริ่มต้นปีใหม่อย่างนี้ TBCC มาชวนทุกคนวิ่งกันวันละนิด…พิชิตโรค เพราะการวิ่งเพียงวันละ 5 นาที ยืดอายุคนเราได้ถึง 3 ปี! รู้งี้…รออะไร หยิบรองเท้าวิ่งคู่ใจแล้วมาวิ่งไปพร้อมกันเถอะ!

ข้าวโพดโชยุ

เดือนนี้แม่บ้านคีโมชวนมาเปิดศักราชใหม่ด้วยเมนูง่ายๆ ที่ใครก็ทำได้ แถมหาวัตถุดิบได้ไม่ยุ่งยากอย่าง ‘ข้าวโพดโชยุ’ เมนูกินเล่นสไตล์อิซากายะ ถ้าพร้อมอร่อยแล้ว…คลิกเลย!

เมื่อรู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง อะไรบ้างที่เราควรรู้

ทันทีที่รู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง เชื่อว่าหลายๆ คนคงช็อก ตกใจ จนไม่มีสติที่จะถามข้อมูลจากคุณหมอ ทำให้ไม่รู้จะปฏิบัติตัวต่อไปอย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว วันนี้คุณหมอซัง-พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ มีทางออกให้…

ไม่อยากกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ กินอย่างไรดี

นับเป็นคำถามคาใจของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลายคน วันนี้ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ นายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ มีเทคนิคการกินง่ายๆ สำหรับอดีตผู้ป่วยมาฝาก

นราพร แกรม-เฮลวิก : บนเส้นทางสาย ‘มะเร็ง’

ส่งท้ายปีกับเรื่องราว พี่น้อย-นราพร แกรม-เฮลวิก ผู้ก่อตั้งเพจ Noi’s chemo journey พื้นที่ที่เธอตั้งใจบันทึกเรื่องราว ส่งต่อกำลังใจ และแบ่งปันประสบการณ์การเผชิญหน้ากับโรคมะเร็งเต้านมชนิด HER2 positive ที่แวะเวียนเข้ามาทดสอบชีวิตในวัยกว่า 64 ปี 

6 เหตุผลที่คนป่วยควรไป ‘ทะเล’

เดือนนี้ TBCC มาชวนทุกคนไปเที่ยว ‘ทะเล’ สถานเยียวยาใจ บำบัดกาย ฟื้นฟูได้ทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมหัศจรรย์ หากใครยังไม่รู้จะไปไหนในวันหยุดยาวที่จะถึงนี้ ลองไปลอย ‘ทะเล’ ส่งท้ายปีดูดีไหม…

สลัดมันฝรั่ง

เดือนนี้แม่บ้านคีโมขอเสนอเมนูง่ายๆ สบายท้อง ชื่อฝรั่งแต่รสชาติไทยๆ น่าจะถูกใจใครหลายคนทีเดียว เมนูที่ว่านี้มีชื่อว่า ‘สลัดมันฝรั่ง’ เมนูสไตล์ฟิวชั่นที่เพิ่มความจี๊ดจ๊าดด้วยการเปลี่ยนจากน้ำสลัดครีมมาเป็น ‘น้ำสลัดไทยซีฟู้ด’ แทน หากพร้อมแซ่บกันแล้วก็มาลุยกันเลยค่ะ!

กินอาหารปิ้งย่างอย่างไร ไม่เป็นมะเร็ง

อย่างที่รู้กันดีว่าการกินอาการปิ้งย่างนั้นเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ เราจะกินอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง วันนี้คุณหมอซัง-พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ มีคำตอบให้

ภาวะแขนบวมนี้จะอยู่กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไปตลอดชีวิต จริงหรือไม่

‘แขนบวม’ ภาวะที่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมต้องพบทุกรายจริงหรือไม่ คำถามนี้คุณหมอปุ๊ก-ผศ. พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ มาไขข้อสงสัยไปตามอ่านพร้อมๆ กันได้เลย

ชะบา ครี : ‘มะเร็ง’ บันดาลใจ

เดือนนี้ TBCC มาส่งต่อเรื่องราวของผู้ช่วยพยาบาลสาวในต่างแดน คุณแม่ลูกสองสุดแกร่ง ‘อ้อ-ชะบา ครี’ อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม TNBC ระยะ 2b ที่เปลี่ยนโรคร้ายให้กลายเป็นแรงบันดาลใจก้าวสู่เป้าหมายใหม่ของชีวิตที่ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเอง…

Costume Therapy : ชุดสวย…ช่วยกู้ ‘ใจ’

เพราะการเยียวยา ‘ใจ’ ก็เป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องอยู่ในกระบวนการรักษายาวนาน และการเยียวยาใจที่ได้ผลวิธีหนึ่งก็คือ การลุกขึ้นมาแต่งตัว!? ฉะนั้น ถึงป่วยก็ต้องสวยปัง! เดือนนี้ TBCC รวบรวมไอเดียแต่งตัวอย่างไร เยียวยาใจพังๆ เราได้…มาฝาก

ลาบแตงโม

เดือนนี้แม่บ้านคีโมจะมาเสิร์ฟแซ่บ พร้อมความสดชื่นกับเมนูสุดพิเศษ ที่ตักเข้าปากแล้วต้องร้อง อู้วหูวววว… เมนูที่ว่านั้นก็คือ ‘ลาบแตงโม’ เมนูที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากอากาศที่ร้อนระอุแบบไม่สนฤดูกาลของบ้านเรานั่นเอง

ผู้ป่วยมะเร็งที่รับเคมีบำบัด รับประทานผักผลไม้สดได้ไหม

อีกคำถามที่ยังคงคาใจของผู้ป่วยมะเร็งไม่น้อยสำหรับผักและผลไม้สดนั้นผู้ป่วยกินได้หรือไม่ เดือนนี้ คุณหมอซัง-พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ และจิตตะไลฟ์เซ็นเตอร์ มาไขข้อสงสัย

อยากให้แนะนำอาหารหลังภาวะผมร่วงจากการให้คีโม

เพราะผมร่วงเป็นอาการข้างเคียงที่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมต้องเจอกันทุกคน และแน่นอนว่า หลายท่านเป็นกังวลว่า ผมร่วงแล้วจะกลับมาเหมือนเดิมไหม เดือนนี้ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ นำเคล็ดลับการดูแลเส้นผมหลังการให้คีโมมาฝาก

เพชรมณี ชำนิกุล : ตื่นรู้อยู่กับ ‘มะเร็ง’

ในเดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้านมะเร็งเต้านมนี้ TBCC ชวนคุณมาสัมผัสเรื่องราวของ มุก-เพชรมณี ชำนิกุล เจ้าของธุรกิจนำเข้าเครื่องสำอางและอาหารเสริม ที่พ่วงท้ายบทบาทคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เคยชิ่งหนีการรักษาไปกว่า 3 ปีเต็มและนั่นก็ทำให้เธอเรียนรู้อะไรมากมาย…

มาเตรียมตัวเข้าสู่แก๊ง ‘สตรีวัยทองคะนองเดช’ กันเถอะ!

หากคุณกำลังมีอาการร้อนวูบวาบตามตัว ประจำเดือนมาผิดๆ เพี้ยน นอนหลับยาก ตื่นเร็ว อารมณ์ผันผวนขึ้นๆ ลงๆ เอวเริ่มหาย ความจำมีปัญหา มึนๆ งงๆ ก่งก๊งเป็นประจำ…อย่าเลื่อนผ่านบทความนี้เด็ดขาด!!!

ยำสับปะรด

เดือนนี้แม่บ้านคีโมขอนำเสนอความอร่อยง่ายๆ เปี่ยมด้วยคุณประโยชน์อย่าง ‘ยำสับปะรด’ เมนูแซ่บซี้ดไฟเบอร์สูง เปี่ยมด้วยเอนไซม์ธรรมชาติที่ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ทั้งยังช่วยเจริญอาหาร เพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย

มะเร็งเต้านม ‘ระยะสุดท้าย’ จะอยู่ได้อีกกี่ปี

อีกหนึ่งคำถามที่ยืนยันว่า ‘มะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย’ ยังสามารถใช้ชีวิตต่อได้ แต่ ‘สั้น’ หรือ ‘ยาวนาน’ แค่ไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หากอยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง ตามไปดูพร้อมๆ กันได้เลย!

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหายจาก ‘มะเร็งเต้านม’ แล้ว

นับเป็นอีกหนึ่งคำถามฮอตฮิตที่ผู้ป่วยมะเร็งหลายๆ คนอยากรู้ วันนี้คุณหมอซัง-พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ มาไขข้อข้องใจให้หายสงสัยแบบหมดเปลือก…

ภัทราภรณ์ หลาบหนองแสง : มะเร็งมา…พาวิวาห์วุ่น

เดือนนี้ TBCC ชวนมาร่วมลุ้นกับเส้นทางความรักของ ‘เบียร์-ภัทราภรณ์ หลาบหนองแสง’ บัณฑิตปริญญาโทด้านการตลาดวัย 36 ปี ที่บินลัดฟ้าไปเรียนภาษาที่ประเทศอังกฤษและพบรักกับหนุ่มชาวอังกฤษเมื่อ 5 ปีก่อน หลังบ่มเพาะความรักจนสุกงอม เธอตัดสินใจเซย์ Yes! เปลี่ยนสถานะมาเป็นว่าที่เจ้าสาว แต่ไม่นานหลังจากนั้นเธอกลับพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งเต้านมก่อนงานแต่งงานจะเริ่มขึ้นเพียงไม่กี่เดือน เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไปเรามาร่วมลุ้นไปพร้อมๆ กันได้เลย!

5 หนังดีต่อใจ…ในวันอ่อนแอ

เดือนนี้ TBCC ชวนแฟนๆ มาดู 5 หนังดังในตำนานที่นอกจากความสนุกแล้ว ยังช่วยปลุกเร้ากำลังใจ ปรับมุมมอง สร้างแรงบันดาลใจ เชื่อเหอะว่า เมื่อหนังจบลง ไฟที่เคยมอดดับอาจจะลุกโชนจนคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

แกงคั่วกุ้งใบชะพลู

ฝนยังคงโปรยปรายอยู่เป็นเนืองๆ แม่บ้านคีโมจึงอยากชวนทุกคนมาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายผ่านเมนู ‘แกงคั่วกุ้งใบชะพลู’ สมุนไพรพื้นบ้านใกล้ตัวเราที่เป็นทั้ง ‘ยาชั้นยอด’ และ ‘อาหารเลิศรส’ ถ้าอยากรู้ว่าเลิศรสขนาดไหน ก็ตามเข้าครัวมาได้เลย!

หากผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่ต้องการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด ในทางการแพทย์จะมีวิธีรักษาอื่นๆ อีกไหม

นับเป็นคำถามที่สาวๆ หลายคนคงอยากรู้คำตอบ วันนี้คุณหมอปุ๊ก-ผศ. พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ มาไขข้อข้องใจว่า วิธีการรักษาโรคมะเร็งเต้านมนั้นหากไม่ผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด จะมีวิธีการอื่นอีกหรือไม่!?!

เมื่อไรที่ผู้ป่วยมะเร็งควรรับประทาน ‘อาหารทางการแพทย์’

เพราะไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนจะเหมาะกับอาการทางการแพทย์ วันนี้คุณหมอซัง (พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง มาไขข้อข้องใจว่าเมื่อไรที่ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารทางแพทย์ดี!?!

ศิระ อมรลาภ : โค้ชชีวิตที่ชื่อว่า ‘มะเร็ง’

TBCC ขอต้อนรับเดือนแห่งวันแม่นี้ด้วยเรื่องราวคุณแม่ลูกสองนักสู้มะเร็ง ‘บี-ศิระ อมรลาภ’ ผู้บริหารฝ่ายการตลาดคนเก่งที่กำลังอยู่ระหว่างการรักษามะเร็งเต้านมชนิด HER2 ระยะลุกลาม ผู้ก่อตั้งเพจ ‘มะเร็งคิดบวก by Beesira’ พื้นที่ที่เธอใช้บันทึกการเดินทางของชีวิตระหว่างที่รักษามะเร็งเต้านม และส่งต่อกำลังใจไปยังผู้ป่วยมะเร็งทั่วไป

5 เหตุผล…ทำไมผู้ป่วยมะเร็งต้องฝึก ‘สมาธิ’

เพื่อเป็นการต้อนรับวันสมาธิโลก (World Meditation Day) ที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 6 สิงหาคมนี้ ทาง TBCC ขอรวบรวม 5 เหตุผล…ทำไมคนป่วยมะเร็งต้องฝึก ‘สมาธิ’ มาฝาก… 

อาหารเช้า 5 นาที

จบปัญหา “มื้อเช้ากินอะไรดี?” เดือนนี้แม่บ้านคีโมมาชวนผู้ป่วยทุกคนมาออกกำลังกายผ่านการทำอาหารเช้าที่สุดแสนจะง่ายดาย ใช้เวลาไม่นาน บอกเลยว่าอาหารเช้าทำกินเองได้…ง่ายนิดเดียว!

ทำไมการให้นมบุตรจึงลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้

น่าจะเป็นอีกหนึ่งคำถามคาใจของเหล่ามนุษย์แม่ทั้งหลาย สำหรับการให้นมบุตรที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม วันนี้คุณหมอส้ม-รศ. พญ.นภา ปริญญานิติกูล มาช่วยไขข้อข้องใจ…

ดูแลตัวเองอย่างไรดี เมื่อต้องฉายแสง

หากผู้ป่วยมะเร็งท่านไหนกำลังอยู่ระหว่างการฉายแสงแล้วไม่รู้ว่าต้องดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้คุณหมอซัง-พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ มีวิธีการดูแลตัวเองง่ายๆ ก่อนการฉายแสงมาฝาก…

พัทธนันท์ กิจเจริญในธรรม : เปลี่ยน ‘ความกลัว’ เป็นพลังก้าวข้ามมะเร็ง

เดือนนี้ TBCC ขอต้อนรับความชุ่มฉ่ำด้วยเรื่องราวของเจ้าของธุรกิจหอพักแห่งหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เพ็ญ-พัทธนันท์ กิจเจริญในธรรม อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด Triple Negative Breast Cancer (TNBC) ระยะ 2 วัย 46 ปีที่เธอก้าวข้ามมะเร็งมาอย่างเด็ดเดี่ยวด้วยการเปลี่ยน ‘ความกลัว’ ทั้งหมดที่มีให้กลายเป็นพลัง…

รู้หรือไม่? เอสโตรเจน…ยิ่งรับ ยิ่งเสี่ยงมะเร็งเต้านม

เดือนนี้ TBCC ชวนให้ทุกคนมาร่วมค้นหา ‘ฮอร์โมนเอสโตรเจนแปลกปลอม’ ที่อาจจะซ่อนอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เรากิน-ใช้ในชีวิตประจำวัน ตัวการสำคัญที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมให้เราโดยไม่รู้ตัว!?!

8 ผักพื้นบ้านต้านโรค ‘ฤดูฝน’ (2)

เข้าสู่ฤดูฝนกันอย่างเต็มตัวแล้วนะคะ เดือนนี้มาติดตามกันต่อกับ 8 ผักพื้นบ้านต้านโรค ‘ฤดูฝน’ ตอนจบ เดือนที่แล้วแม่บ้านคีโมได้นำเสนอการกินอาหารให้เป็นยาจากพืชผักสวนครัวไปแล้ว มีใครลองนำไปประกอบอาหารกันบ้างไหมเอ่ย!?! ผลเป็นอย่างไร มาแชร์ประสบการณ์กันได้นะคะ และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เรามาต่อกันเลยดีกว่าว่า อีก 4 ผักพื้นบ้านต้านโรคที่เหลือ…มีอะไรกันบ้าง? 

ผู้เคยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมสามารถดื่มกาแฟได้ไหม

‘กาแฟ’ ถือเป็นอีกหนึ่งเมนูดีต่อใจของใครหลายๆ คน แต่เมื่อมาเป็นอดีตผู้ป่วยมะเร็ง หลังรักษาตัวหายแล้ว ก็อาจจะสงสัยว่าจะกลับดื่มกาแฟต่อไปได้ไหม วันนี้มาไขข้อข้องใจไปกับอาจารย์แบงค์- ดร.กมล ไชยสิทธิ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการกันเลยดีกว่า…

ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในช่วงให้เคมีบำบัด ใช้เครื่องสำอางได้ไหม

ความสวยนี่ไม่เข้าใครออกใคร ถึงจะอยู่ในช่วงเคมีบำบัดก็เถอะ สาวๆ ทุกคนก็คงอยากดูสดใส ไม่โทรม วันนี้คุณหมอซัง-พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง จึงมาไขข้อข้องใจให้กับสาวๆ ที่อยากรู้ว่าช่วงให้เคมีบำบัดจะสวยสะบัดได้ไหม!?!

พัชรินทร์ภรณ์ ศิริวัฒนานุรักษ์ : นักสู้มะเร็ง 2 สังเวียน

TBCC ขอต้อนรับความชุ่มฉ่ำของฤดูฝนด้วยเรื่องราวของนักสู้สาว 2 สังเวียน “นก-พัชรินทร์ภรณ์ ศิริวัฒนานุรักษ์” อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมวัย 42 ปี ที่เคยผ่านการต่อสู้กับมะเร็งเต้านมมาถึงสองครั้งสองครา และนั่นทำให้เธอได้เรียนรู้ว่า แท้จริงแล้ว ชัยชนะของผู้ป่วยมะเร็งนั้นไม่ใช่แค่หายจากโรคเท่านั้น…แต่ชัยชนะสำหรับเธอคืออะไร !?! เราไปหาคำตอบพร้อมๆ กันได้เลย

5 เหตุผล…ทำไมคนป่วยควรมี ‘ดนตรี’ ในหัวใจ!?!

เพื่อเป็นการต้อนรับ ‘วันดนตรีโลก’ หรือ World Music Day ที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 21 มิถุนายนนี้ TBCC ขอมัดรวมประโยชน์ดีๆ ของดนตรีที่จะช่วยสร้างสุขภาวะให้ทั้งคนป่วยและคนไม่ป่วยมาฝากกัน ไปติดตามกันได้เล้ยยย…

8 ผักพื้นบ้านต้านโรค ‘ฤดูฝน’ (1)

อากาศที่เริ่มเย็นลงและความชื้นที่เพิ่มขึ้นในฤดูฝนนี้ นอกจากความชุ่มฉ่ำชื่นใจที่กำลังมาเยือนเราแล้ว ยังถือเป็นช่วงที่เชื้อโรคหลากหลายชนิดเติบโต แพร่ระบาดง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้นเช่นกัน เดือนนี้แม่บ้านคีโมจึงถือโอกาสชวนทุกท่านมากินอาหารให้เป็นยารับหน้าฝนจาก ‘8 พืชผักพื้นบ้านต้านโรค’ หากอยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง ไปติดตามกันได้เลยค่ะ

ผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนทั่วไปจริงหรือไม่ เพราะเหตุใด

มีประจำเดือนเร็วมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งได้อย่างไร วันนี้คุณหมอส้ม (รศ. พญ.นภา ปริญญานิติกูล) อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา หน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคำตอบมาฝาก

เป็นมะเร็งเต้านม รับประทานอาหารทะเลได้ไหม

กินอาหารทะเลได้ไหม!?! อีกหนึ่งคำถามที่ผู้ป่วยมะเร็งเป็นกังวลอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ วันนี้คุณหมอซัง (พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ และจิตตะไลฟ์เซ็นเตอร์ มีคำตอบให้

ณภัทรชนก กิติเสาวกุล : สู่การเป็นตำราชีวิตเล่มใหญ่ให้ลูกรัก

เดือนนี้ TBCC ขอชวนไปสัมผัสตำราชีวิตเล่มใหญ่หลังการเผชิญหน้ากับมะเร็งเต้านมของ เอ๋ย์-ณภัทรชนก กิติเสาวกุล ที่ปรึกษาอิสระด้านระบบ ISO 9001 วัย 53 กะรัต อดีตเวิร์กกิ้งวูแมนสายลุยขององค์กรชั้นนำด้านอสังหาริมทรัพย์มากว่า 25 ปี คุณแม่สายสตรองของลูกสาววัยใส

Genetic Cancer Screening : ผู้ช่วยออกแบบชีวิต…พิชิตมะเร็ง

เพื่อเป็นการต้อนรับวันสุขภาพผู้หญิงสากล (women’s health international day) ซึ่งตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคมนี้ TBCC จึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ Genetic Cancer Screening หรือการตรวจหายีนกลายพันธุ์แต่กำเนิด อีกหนึ่งตัวช่วยในการคาดการณ์ว่า ในร่างกายเรามียีนที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากน้อยแค่ไหน…

กิมจิโฮมเมด

เดือนนี้ถึงคิวของเมนูเพิ่ม ‘โปรไบโอติกส์’ (Probiotics) แบบธรรมชาติ สดสะอาด ปลอดภัย มั่นใจได้ 100% อีกหนึ่งเมนูบรรเทาอาการท้องผูก ที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ แถมรสชาติถูกปากถูกใจ โดยเฉพาะสาวๆ สายเกาหลีเกาใจแน่นอน

อยากทราบว่าหลังรักษามะเร็งเต้านมแล้ว จะรับประทานอาหารเสริม เช่น คอลลาเจน วิตามินเสริมต่างๆ ฯลฯ ได้หรือไม่

อีกหนึ่งคำถามฮอตฮิตจากสาวๆ ที่รักสวยรักงามที่มักถามถึงการรับประทานอาหารเสริมหลังจบการรักษามะเร็งนั้น ทำได้หรือไม่ วันนี้ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ มีคำตอบให้

หากเราเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่ง แล้วตัดสินใจตัดเต้านมออกทั้งสองข้าง สามารถช่วยลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมในอนาคตได้จริงไหม เพราะอะไร

ถือเป็นคำถามคาใจของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลายๆ ท่าน สำหรับการตัดเต้านมออกทั้งสองข้างนั้นลดความเสี่ยงการกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมในอนาคตได้จริงไหม คำถามนี้ คุณหมอปุ๊ก (ผศ. พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมาไขข้อสงสัย

พชร ปัจจัยโคถา : เมื่อโรคร้ายกลายเป็น ‘โชค’

เดือนร้อนแรงของปีอย่างนี้ TBCC ขอชวนคุณมาสัมผัสประสบการณ์ชีวิตที่ต้องเผชิญหน้าโรคร้าย แต่กลับกลายเป็นโชค (ดี) ของ ริน-พชร ปัจจัยโคถา ผู้บริหารหญิงแกร่งแห่งเพาเวอร์ แทรค บริษัทรับเหมาที่ผ่านการเป็นซับคอนแทร็กให้องค์กรระดับประเทศมามากมาย และยังเป็นเจ้าของ ‘พชรฟาร์ม’ ศูนย์การเรียนรู้และเพาะพันธุ์กวางเชิงพาณิชย์แห่งแรกและแห่งเดียวในจังหวัดสระแก้ว

Pets Therapy : สัตว์เลี้ยงแสนรัก…บำบัดใจ

เพื่อเป็นการต้อนรับ National Pet Day หรือวันสัตว์เลี้ยงสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 11 เมษายนของทุกปี เดือนนี้ TBCC จึงชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ 4 สัตว์เลี้ยงแสนรักในฐานะ ‘นักบำบัดใจ’ ที่สามารถเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนคลายเหงาในบ้านได้ 

ข้าวกล้องงอกตุ๋น

เดือนนี้แม่บ้านคีโมขอเสิร์ฟเมนู ‘ข้าวกล้องงอกตุ๋น’ เอาใจผู้ป่วยที่เบื่ออาหาร ไม่อยากเคี้ยวอาหาร ลิ้นไม่รับรสกันหน่อยนะคะ รับรองว่าผู้ป่วยที่เบื่ออาหารจะตกหลุมรักตั้งแต่แรกเห็น ด้วยสีสันแปลกตาของเมนู และแน่นอนว่าเมนูนี้ไม่ได้สวยแค่หน้าตาเท่านั้น หากพร้อมอร่อยแล้ว ก็คลิกเข้ามาได้เลย

แผลในปาก ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็ง ควรรักษาอย่างไรดี

‘แผลในปาก’ นับเป็นอาการข้างเคียงจากการรักษาที่สร้างความทรมานและรำคาญใจให้ผู้ป่วยมะเร็งอย่างมาก วันนี้คุณหมอซัง-พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ และจิตตะไลฟ์เซ็นเตอร์มีทางออกมาให้….คลิกเลย!

อยากทราบว่าสูตรเคมีบำบัดมะเร็งเต้านมที่เรียกว่า ‘สูตรน้ำแดง’ และ ‘น้ำขาว’ คืออะไร

อย่างที่ทราบกันดีว่า สูตรเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ฮอตฮิตติดหูอย่างมากก็คือ สูตรน้ำแดง และสูตรน้ำขาว แต่จะมีใครรู้บ้างว่า มันคืออะไร วันนี้คุณหมอส้ม-รศ. พญ.นภา ปริญญานิติกูล อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา หน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีคำตอบให้

วรรณนิฐา ลำเจียกเทศ : เฮอร์ทูวิทยา ตำราสอนชีวิต

เดือนนี้ TBCC ชวนมาอ่านตำราชีวิตเล่มใหญ่ของคอสเพลย์สาว เบล-วรรณนิฐา ลำเจียกเทศ อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะ 3 ชนิดเฮอร์ทู ผู้ค้นพบว่าจริงๆ แล้ว มะเร็งก็คือโรคของกรรม และความประมาทในการใช้ชีวิตของเรานี่เอง อีกหนึ่งบทเรียนที่ทำให้เธอหันกลับมารักตัวเองอย่างหมดใจ…

มัดรวมไอเดียจัดห้องสุดว้าว! ฉบับสาวคีโม

เดือนนี้ TBCC ขอชวนสาวๆ มาจัดพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อม! ก่อนเปลี่ยนสถานะมาเป็น ‘คีโมเกิร์ล’ อย่างเป็นทางการ รับรองว่าง่าย ปลอดภัย และน่าจะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งทุกคนสามารถผ่านช่วงการให้เคมีบำบัดไปได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

กล้วยทับมาชเมลโล่

เดือนนี้แม่บ้านคีโมขอนำเสนอไอเดียขนมคลีนรสชาติอร่อยล้ำ แต่ทำง่ายๆ แถมหาวัตถุดิบได้ในครัวคุณเองอย่าง ‘กล้วยทับมาชเมลโล่’ สูตร (ไม่) ลับ ฉบับแม่บ้านคีโมที่ปรุงด้วยหัวใจ ใส่ความห่วงใยให้ทุกจานอร่อย แต่ไม่ทำร้ายคุณ

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ต้องผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด สามารถทำการผ่าตัดเสริมเต้านมได้ในคราวเดียวกันไหม

เชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งคำถามที่อยู่ในใจของสาวๆ ที่จำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมทั้งหมดว่า เสริมสร้างหลังผ่าตัดก้อนมะเร็งไปเลยได้ไหม วันนี้ คุณหมอบัว (อาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์) อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช มีคำตอบให้

มีบางงานวิจัยพบว่า มะเร็งบางชนิดอาศัย Methionine ในการเจริญเติบโต และไข่ขาวมีกรดอะมิโน Methionine สูงติด TOP3 การกินไข่ขาวจะเป็นการให้อาหารมะเร็งหรือไม่

มาไขข้อสงสัย กินไข่ขาวทำมะเร็งโตจริงไหม!?! ไปกับอาจารย์แบงค์ (ดร.กมล ไชยสิทธิ์) อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ

สุธีรา ศุขสุทธิ : เมื่อ BRCA2 ยึดครองพื้นที่ชีวิต

เดือนแห่งความรักนี้ TBCC ชวนมาสัมผัสเรื่องราวการต่อสู้ของเวิร์กกิ้งวูแมนสายบู๊ นักสู้งานหนักจากแวดวงการเงิน กิฟท์-สุธีรา ศุขสุทธิ คุณแม่ลูกหนึ่งวัย 38 ปี ที่เกือบจะสูญเสียการมองเห็นจากเนื้องอกต่อมใต้สมอง หลังการผ่าตัดลุล่วงไปไม่ถึงปี เธอกลับพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งเต้านมระยะ 2 อีก ถึงจะท้อหนัก แต่ด้วยความรักลูก เธอจึงลุกขึ้นสู้ยิบตาจนจบการรักษา ถึงอย่างนั้นฟ้าหลังฝนก็กลับไม่สวยงามอย่างที่คิด เมื่อเนื้องอกในมดลูกและรังไข่เข้ามารังควานชีวิตเธออีกครั้งและนั่นเองที่นำไปสู่คำตอบบางอย่าง หากอยากรู้ว่าคืออะไร เรามาติดตามเรื่องราวของเธอไปพร้อมๆ กันได้เลย

‘ต้นไม้’ ของขวัญแทนใจสายเฮลตี้

วาเลนไทน์นี้ หากใครยังไม่มีไอเดียว่าจะมอบอะไรให้คนรักดี TBCC อยากชวนให้ลองมองหา ‘ต้นไม้’ สักต้นเพื่อสื่อรัก แทนใจ และส่งความห่วงใยไปถึงคนพิเศษของคุณ แต่จะเป็นต้นไม้อะไรดีให้โดนใจผู้รับ!?! เรามาลองเลือกไปพร้อมๆ กันเลย… 

เนยถั่วอัลมอนด์

ไหนๆ เดือนนี้ก็เป็นเดือนแห่งความรัก แม่บ้านคีโมอยากมอบเมนูพิเศษๆ ให้กับ ‘แฟนคลับ’ ทุกคน เพื่อนำไปส่งมอบเป็นของขวัญพิเศษสำหรับคนพิเศษ อีกหนึ่งเมนูดีต่อใจสไตล์ Heartmade ใช้วัตถุดิบง่ายๆ แถมทำได้ไม่ยาก ถ้าพร้อมแล้ว มาเติมความรัก ปรุงด้วยหัวใจใส่ในเมนูนี้กันได้เล้ยยย…  

ใบย่านาง จิงจูฉ่าย และเจียวกู่หลาน ดีต่อผู้ป่วยมะเร็งจริงไหม

ใบย่านาง จิงจูฉ่าย และเจียวกู่หลาน สามสมุนไพรที่อยู่ในความสนใจของผู้ป่วยมะเร็ง แต่จะมีประโยชน์กับผู้ป่วยมะเร็งจริงไหม วันนี้ คุณหมอซัง (พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ และและจิตตะไลฟ์เซ็นเตอร์ มีคำตอบ
และจิตตะไลฟ์เซ็นเตอร์

เป็นมะเร็งระยะใดจึงควรตัดเต้านมทิ้ง และควรตัดเพียงหนึ่งเต้าหรือตัดสองเต้าไปเลยดี

ถือเป็นอีกหนึ่งคำถามคาใจ สำหรับปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งต้องตัดเต้านมทิ้ง วันนี้คุณหมอบัว (อาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์) อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช มาไขข้อสงสัย

ธนัญชญา จอมพิพัฒพงศ์ : มะเร็งสอนให้รู้ว่า…

TBCC ขอต้อนรับปีกระต่ายด้วยเรื่องราว ครูพี่หนิง-ธนัญชญา จอมพิพัฒพงศ์ ของเด็กๆ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวัดศรีวิเทศสังฆาราม จังหวัดสงขลา อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ ‘มะเร็ง’ ไม่อาจพรากจิตวิญญาณความเป็นครูไปได้…ที่มาของคลิปไวรัลน่ารักๆ ‘สอนแทนลูก’ ที่สร้างความประทับใจและรอยยิ้มไปทั่วโลกโซเชียล

5 ร้านอร่อยลิ้น อิ่มสุขภาพ Delivery!

เทศกาลปีใหม่อย่างนี้ คงจะดีถ้าจะมี ‘มื้อพิเศษ’ กับครอบครัวสักมื้อ เดือนนี้ TBCC ชวนมาเนรมิตอาหารมื้อพิเศษที่เต็มไปด้วยเมนูอร่อยลิ้น อิ่มสุขภาพสำหรับทุกคนในครอบครัวแบบไม่ต้องเหนื่อยเข้าครัว จะเป็นวิธีไหน ตามไปดูกันเล้ยยย….

เครื่องปรุงปลอดภัย…เมนูไหนก็เอาอยู่!

เทศกาลปีใหม่มาเยือนทั้งที เดือนนี้ #แม่บ้านคีโม ขอเสิร์ฟความพิเศษหน่อย ด้วยการรวบรวม ‘เครื่องปรุงสามัญประจำครัว’ สไตล์แม่บ้านคีโม ที่นอกจากจะเพิ่มความอร่อยให้อาหารแล้ว ต้องปลอดภัยไร้กังวลด้วย 

ช่วยแนะนำการกินอาหารในช่วงให้เคมีบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเบื่ออาหาร

เพราะเรื่องกินสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เมื่อต้องให้เคมีบำบัด ควรรับประทานอาหารอย่างไรดี มาไขปัญหานี้กับดร.กมล ไชยสิทธิ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ

ผู้ชายมี ‘ภาวะเต้านมโต’ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ และควรไปตัดเต้านมเลยไหม

เพราะ ‘ภาวะเต้านมโต’ สามารถเกิดได้กับผู้ชายทั่วไป แต่จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากน้อยแค่ไหน เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันกับ คุณหมอบัว-อาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

หนึ่งฤทัย อ้นเรืองศรี : ปรับมุมคิด…พิชิตมะเร็งระยะสุดท้าย

ส่งท้ายปลายปี TBCC ชวนมาสัมผัสเรื่องราวของ หนึ่ง-หนึ่งฤทัย อ้นเรืองศรี อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย ซึ่งมะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด และกระดูก ผู้หญิงหัวใจแกร่งที่ทุกวันนี้เธอขอบคุณ ‘มะเร็ง’ เสมอที่เข้ามาเปลี่ยนชีวิตเธอ…

ชวน ‘ให้’ ท้ายปี

เพราะการให้เป็นเสมือนการส่งมอบความสุขไม่ใช่เพียงแค่ผู้รับ แต่การให้ยังดีต่อใจของผู้ให้เองด้วย เดือนนี้ TBCC จึงอยากชวนแฟนๆ มา ‘ให้’ ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีกระต่าย เสริมกำลังใจตัวเอง เติมกำลังใจให้ผู้ (ป่วย) อื่น ด้วยการ ‘ให้’ ในรูปแบบต่างๆ ถ้าพร้อมแล้ว มาให้ไปพร้อมๆ กันได้เล้ยยย…

หมูยอคลีนไร้แป้ง 100%

ใกล้ปีใหม่อย่างนี้ แม่บ้านคีโมชวนมาผลิตวัตถุดิบกักตุนไว้เพื่อทำเมนูอร่อย ย่อยง่าย ฉลองปีใหม่กันแบบไม่ทำลายสุขภาพกันดีกว่า…อยากรู้ว่าเป็นเมนูอะไร ก็ตามมาอ่านกันได้เล้ย!

เมื่อรักษามะเร็งจบแล้ว ควรปฏิบัติตัวอย่างไรดี

เพราะการใช้ชีวิตหลังจบการรักษามะเร็งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนั่นหมายถึงโอกาสที่จะทำให้กลับมาเป็นมะเร็งซ้ำอีกหรือไม่ วันนี้คุณหมอซัง พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง ขออาสามาบอกหลักการใช้ชีวิตง่ายๆ 4 ประการ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่เพิ่งจบการรักษา…ใครอยากรู้ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไรดี วันนี้มีคำตอบ!

คุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ควรดูแลเต้านมอย่างไรดี

เพื่อเป็นการเฝ้าระวังมะเร็งเต้านม สาวๆ ทุกคนจึงจำเป็นต้องตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลเต้านมอย่างไรดี เรื่องนี้มีคำตอบจาก ‘คุณหมอบัว’ อาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช มาฝาก…

พัสวีร์ บำเพ็ญเกียรติกุล : ป่วยแค่กาย ใจอย่าป่วย!

เดือนนี้ TBCC ชวนมาปฏิวัติความคิดไปกับ เนต-พัสวีร์ บำเพ็ญเกียรติกุล Business Development Manager คนเก่งที่พ่วงท้ายตำแหน่งคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวหัวใจแกร่งวัย 36 ปี อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายเมื่อ 3 ปีก่อน กระทั่งวันนี้เธอคือผู้หญิงที่มีความสุขกับชีวิตที่สุดคนหนึ่ง…

Dance Therapy : มาแดนซ์กระจาย…ไล่มะเร็งให้กระจุย!

Lifestyle เดือนนี้ TBCC ชวนคุณมาแดนซ์กระจาย…ไล่มะเร็งให้กระจุย! กับศาสตร์การเต้นบำบัด (Dance Therapy) การเต้นที่เป็นมากกว่าความสนุกสนาน และการออกกำลังกาย หากแต่เยียวยาหยั่งลึกถึงข้างใน…

ไข่คนข้าวโพด

เดือนนี้แม่บ้านคีโมมาชวนทำ ‘ไข่คนข้าวโพด’ เมนูอาหารเช้าสไตล์ง่ายๆ แค่มีข้าวโพด 1 ฝัก กับไข่ไก่สด 2 ฟอง ก็สามารถเนรมิตความอร่อยได้ แถมใช้เวลาปรุงเสร็จได้ภายใน 5 นาที! อยากรู้ว่าจะอร่อยแค่ไหน!?! ก็มาลองทำไปพร้อมๆ กันได้เล้ยยย…

หลังการกินยาต้านฮอร์โมนทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) มา 4 ปี ประจำเดือนไม่มา ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมวัย 41 ปี ถือว่าผิดปกติไหมคะ

ประจำเดือนกับยาทาม็อกซิเฟน เชื่อมโยงกันไหม วันนี้คุณหมอส้ม-รศ. พญ.นภา ปริญญานิติกูล อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา หน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มาไขข้อสงสัย…
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อป่วยเป็นมะเร็งควรกินอย่างไรดี

อีกหนึ่งคำถามที่ถูกถามมากเป็นอันดับต้นๆ จากผู้ป่วยมะเร็ง สำหรับการรับประทานอาหารอย่างไรเมื่อรู้ตัวว่าป่วยเป็นมะเร็ง วันนี้คุณหมอซัง-พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง มีคำตอบให้…

พิมพ์ณิกา ลวางกูร : สวยสู้มะเร็ง

เดือนนี้ TBCC ชวนมารู้จักกับ พิมพ์ณิกา ลวางกูร หรือที่รู้จักกันในนามของ ‘ป้าพิม’ แห่งเพจสวยสู้มะเร็ง อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด Triple Negative Breast Cancer (TNBC) มะเร็งที่หลายคนเชื่อว่าดุที่สุดในบรรดามะเร็งเต้านมทั้งหมด และนั่นกลายเป็นจุดพลิกผันที่ทำให้เธอศึกษาเรื่องโภชนาการบำบัดอย่างจริงจัง รวมถึงแบ่งปันความรู้ไปยังผู้คน โดยมีเป้าหมายลึกๆ ว่า สิ่งที่เธอทำจะช่วยให้ ‘Cancer Fighter’ หรือนักสู้ผู้พิชิตมะเร็งในเมืองไทยให้เพิ่มขึ้นกว่าที่เป็น…

5 สตรีสุดสตรอง : ตัดเต้าทิ้ง ชิ่งหนีมะเร็ง

ในเดือนตุลาคม เดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้านมะเร็งเต้านมสากล TBCC จึงอยากชวนสาวๆ มาสัมผัสเรื่องราว 5 สาวสุดสตรองคนดังระดับโลกที่ก้าวออกมาเผชิญหน้าโรคมะเร็งเต้านมอย่างเด็ดเดี่ยว ด้วยการตัดสินใจผ่าตัดเต้านมทิ้งทันทีที่รู้ตัวว่าเสี่ยงเป็นมะเร็ง (แน่!) มาดูสิว่ามีใครกันบ้าง และเธอหันหลังให้ความกลัว พร้อมประจันหน้ากับชีวิตที่ไร้เต้าอย่างไร…ไปติดตามพร้อมๆ กันเลย

ลูกเดือยต้มน้ำตาล

เดือนนี้แม่บ้านคีโมจึงขอเอาใจสาวๆ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะป่วย หรือไม่ป่วยทุกท่าน ด้วยเมนูหวานกำลังดี ไม่มีพิษภัย และไม่ทำลายสุขภาพอย่าง ‘ลูกเดือยต้มน้ำตาล’ ซึ่งวิธีทำก็แสนง่าย ใครๆ ทำก็อร่อยได้ไม่ยาก แถมยังเป็นของว่างอยู่ท้อง ราคาย่อมเยาเหมาะกับเศรษฐกิจบ้านเราในเวลานี้เป็นที่สุด

เป็นมะเร็งเต้านมแล้ว มีลูกได้ไหม หรือหากเป็นมะเร็งเต้านมระหว่างตั้งครรภ์แล้ว ต้องทำแท้งไหม 

เป็นมะเร็งเต้านมแล้วมีลูกไม่ได้จริงหรือ? คำถามที่เหล่าสาวๆ สงสัย วันนี้คุณหมอบัว (อาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์) อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช มีคำตอบมาให้

ดารินทร์ เคารพพันธุ์ : เรื่องเล่ามะเร็งเต้านม

เดือนนี้ TBCC ชวน ‘คุณหลิง-ดารินทร์ เคารพพันธุ์’มาแชร์ประสบการณ์ชีวิตหลังพบเนื้อร้าย กระทั่งกลายมาเป็นเจ้าของเพจ ‘เรื่องเล่ามะเร็งเต้านม’ พื้นที่ที่เธอใช้ส่งต่อเรื่องราวตั้งแต่วันแรกที่รู้ตัวว่าเป็น ‘มะเร็ง’ กระทั่งเข้าสู่กระบวนการรักษา จวบจนวันนี้แม้เวลาจะล่วงเลยมากว่า 4 ปีแล้ว เธอก็ยังคงมีเรื่องราวอีกมากมายที่อยากจะเล่า เล่า และเล่าต่อไป…

เปลี่ยน ‘วันคีโม’ สุดเซ็ง…ให้เจ๋งชะมัด!

อย่างที่รู้ๆ กันดีว่า วันให้คีโมนั้นเป็นวันที่ไม่ค่อยน่าอภิรมย์สักเท่าไรสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ยิ่งถ้าต้องใช้เวลาให้คีโมยาวนาน ความเซ็ง ความเบื่อหน่ายก็ยิ่งพานทวีมากขึ้นเท่านั้น วันนี้ TBCC จึงขอเสนอแนวทางเปลี่ยน ‘วันคีโม’ สุดเซ็งให้กลายเป็นวันเจ๋งๆ อีกวันของชีวิตกันดีกว่า 

เค้กกล้วยกล้วยใต้

เดือนนี้แม่บ้านคีโมมาชวนทุกท่านเข้าครัวทำเมนู ‘เค้กกล้วยกล้วยใต้’ หรือเค้กกล้วยน้ำว้านึ่งนั่นเอง เมนูหวานๆ ที่ทานได้ทุกเพศ ทุกวัย แถมอร่อย ปลอดภัย และไม่ไ่ด้ดีเฉพาะผู้ป่วย แต่ยังเหมาะสำหรับคนที่ควบคุมน้ำหนัก หรือรับประทานมังสวิรัตอีกด้วย

การเสริมฮอร์โมนเพศหญิงหรือการกินยาคุมต่อเนื่องยาวนานในสาวประเภทสอง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่

อีกหนึ่งคำถามที่สาวประเภทสองห้ามพลาดเด็ดขาด สำหรับการรับประทานยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่องมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ มาฟังคำตอบชัดๆ จากคุณหมอส้ม (รศ. พญ.นภา ปริญญานิติกูล) พร้อมๆ กันได้เลย

กินน้ำตาลแล้ว ทำให้มะเร็งโตจริงไหม

อีกคำถามฮอตที่ใครหลายคนสงสัยว่า ‘น้ำตาล’ ของโปรดของสาวๆ นี้ เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญทำให้มะเร็งโตหรือไม่ วันนี้มาไขข้อข้องใจไปกับอาจารย์แบงค์ (ดร.กมล ไชยสิทธิ์ ) ไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่า…

สิทรา พรรณสมบูรณ์ : ชีวิตปลอดมะเร็งบนเส้นทางแมคโครไบโอติกส์

เดือนแห่งวันแม่ปีนี้ TBCC ขอพาแฟนๆ ไปสัมผัสชีวิต ป้าตุ๊-สิทรา พรรณสมบูรณ์ ตัวแม่แห่งวงการ ‘แมคโครไบโอติกส์’ หลังพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งเต้านม เธอหันหลังให้ชีวิตเมืองและการรักษาด้วยเคมี เดินหน้าใช้ชีวิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติ และประณีตกับสิ่งที่จะนำเข้าไปในร่างกาย จนถึงวันนี้ผ่านมาเกือบ 30 ปีแล้ว เธอก็ยังคงมีความสุขกับการใช้ชีวิตสมดุลกลมกลืนไปกับธรรมชาติ ชีวิตเธอเลือกแล้วและไม่เคยเสียใจเลย…

4 SUPERMOM : สุดยอดมาม้า…ท้าชนมะเร็ง

เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งสำหรับวันสำคัญแห่งปีของไทยอย่าง ‘วันแม่แห่งชาติ’ ในวันที่ 12 สิงหาคม เดือนนี้ TBCC จึงขอรวบรวมเรื่องราวการต่อสู้ของเหล่า ‘มนุษย์แม่’ สายสตรองที่เคยผ่านการเป็นมะเร็งเต้านม บ้างเพลี่ยงพล้ำจนต้องสูญเสียอวัยวะ บ้างก็ยังอยู่ในสมรภูมิรบที่ยังต้องสู้กันต่อไป จะมีใครบ้าง เราไปติดตามพร้อมๆ กันได้เลย… 

ข้าวโพดย่างเนยกะทิสด

เดือนนี้ แม่บ้านคีโมชวนมาเติมสารอาหารหลักที่ขาดไม่ได้ นั่นก็คือ ‘คาร์โบไฮเดรต’ แหล่งพลังงานสำคัญต่อร่างกายและให้ความอบอุ่น ผ่านเมนู ‘ข้าวโพดย่างเนยน้ำกะทิสด’ เมนูที่อาจจะทำให้ใครหลงรักข้าวโพดได้ไม่ยากนัก ถ้าพร้อมแล้ว เรามาเริ่มทำกันได้เลย

คุณแม่ที่เป็นมะเร็งเต้านมและจำเป็นต้องตัดเต้านม มีผลต่อการตั้งครรภ์และให้นมลูกหรือไม่

น่าจะมีคุณแม่มือใหม่ไม่น้อยที่กังวลว่า ถ้าเป็นมะเร็งขณะตั้งครรภ์นั้นจะมีผลต่อลูกน้อยในครรภ์ไหม หรือถ้าจำเป็นต้องตัดเต้านมทิ้งแล้วจะสามารถให้นมลูกได้ไหม วันนี้มาพบคำตอบจาก อาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ไปพร้อมๆ กันได้เลย

ถ้าเป็นมะเร็งเต้านมชนิดเฮอร์ทูแล้วจะรักษาไม่หายจริงไหม

เพราะเฮอร์ทูเป็นที่เลื่องลือมาว่า เป็นมะเร็งชนิดร้ายแรงที่สุดในบรรดามะเร็งเต้านมชนิดอื่นๆ จึงไม่แปลกที่หลายๆ คนที่พอเป็นมะเร็งชนิดนี้แล้วจะกังวลถึงเรื่องการรักษาไม่หาย หรือหายแล้วกลับมาเป็นซ้ำ มาไขข้อข้องใจไปกับ ‘คุณหมอซัง’ พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ และจิตตะไลฟ์เซ็นเตอร์ กันได้เลย…

พินณพัส สุพพัตชัย : เมื่อมะเร็งพรากความมั่นใจ…

เดือนนี้ TBCC ชวนสัมผัสบทสัมภาษณ์จากหัวใจ เจี๊ยบ-พินณพัส สุพพัตชัย อดีตผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 2 กับ 3 ปีที่มะเร็งพรากความมั่นใจไปจากเธอ หากอยากรู้ว่าเธอก้าวผ่านวันเจ็บปวดมาได้อย่างไร ไปพบคำตอบกันได้เลย

ชั้นใน…ไร้เต้า : เลือกอย่างไรให้เข้าทรง

หลังการผ่าตัดเต้านมเพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านม เชื่อว่าผู้ป่วยหลายคนอาจจะรู้สึกเคว้งคว้างอยู่พอสมควร โดยเฉพาะสาวๆ ที่จำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมข้างใดข้างหนึ่งทิ้งไป เพราะนอกจากอวัยวะและสมดุลของร่างกายที่สูญเสียไปแล้ว ความมั่นใจที่เคยมี…ก็แทบไม่หลงเหลือ เดือนนี้ TBCC ชวนสาวๆ มาเลือกบราให้เหมาะกับรูปร่างที่เปลี่ยนไป เพื่อเรียกความมั่นใจคืนกลับมา 

ข้าวกล่องดีต่อใจ

เดือนนี้เอาใจผู้ป่วยนักเดินทาง ไม่ว่าจะต้องเดินทางไปหาคุณหมอ ไปเที่ยว ไปทำธุระ หรือไปไหนต่อไหนก็ตาม แค่พกพาเอาเมนูนี้ไปด้วย รับรองรอด!

เสริมเต้านมแล้ว ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างไรดี

สิ่งที่กังวลมากอย่างหนึ่ง คือ หลังเสริมเต้านมแล้วสามารถตรวจเต้านมโดยวิธีแมมโมแกรมได้ไหม คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการบีบเต้านมในการตรวจแมมโมแกรมนั้นจะทำให้ถุงซิลิโคนแตกจริงหรือไม่ มาคลายข้อสงสัยไปกับคุณหมอบัว (อาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์) อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราชไปด้วยกัน

‘ก้อน’ แบบนี้…มะเร็งเต้านมใช่ไหม

เดือนนี้ ขอรวบรวมคำถามอาการเกี่ยวกับ ‘ก้อน’ ที่หน้าอกมาฝาก ก้อนมะเร็งมีลักษณะแบบใด ก้อนแบบไหนที่ใช่ ก้อนแบบไหนที่ไม่ชัวร์ ไปคลายข้อสงสัยพร้อมๆ กันกับคุณหมอปุ๊ก (ผศ. พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ) จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กันได้เลย  

กันตินันท์ พันธ์วงศ์ : หลักสูตรวัดใจบนสังเวียนมะเร็ง

เดือนนี้ TBCC ชวนมาสัมผัสชีวิตอดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด HER2 Positive ระยะ 3 และกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง ทำให้ต้องตัดเต้านมเพื่อรักษาชีวิตตัวเองไว้ ปฐมบทแห่งการวัด ‘ใจ’ ตัวเองบนสังเวียนมะเร็ง จุดเริ่มต้นในการแบ่งปันไม่มีที่สิ้นสุด…

6 SEX TIPs : อย่าให้ชีวิตรักพัง! หลังรอดมะเร็ง

กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมนั้นมักมีปัญหาทางเพศ ถึงขนาดเป็นที่มาของความสัมพันธ์ที่สั่นคลอน หรือบางครั้งขาดสะบั้นในเวลาอันรวดเร็วหลังการรักษามะเร็งจบลง เดือนนี้ TBCC ขอส่งต่อ 6 วิธีเยียวยา SEX หลังการรักษามะเร็ง ผ่านเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เพื่อสมดุลชีวิตรัก ยืดระยะเวลาความสุขและความสัมพันธ์คู่ชีวิตให้ยั่งยืน ชีวิตรอดแล้ว…รักก็ต้องรอดด้วย! 

ซุปฟักทอง สูตรคลีน

เดือนนี้แม่บ้านคีโมชวนอร่อยกับเมนู ‘ซุปฟักทองสูตรคลีน’ เนื้อเนียนนุ่ม ซดอุ่นๆ คล่องคอ สูตรนี้ทำง่ายกว่าที่คิด! แถมขั้นตอนไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็ไม่เยอะ หากพร้อมกันแล้ว มาเข้าครัวพร้อมๆ กันได้เลย

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่กิน ‘ยาต้านฮอร์โมน’ ได้ไหม

มาทำความรู้จักกับยาต้านฮอร์โมน และ
ร่วมไขข้อสงสัยเกี่ยวกับประโยชน์ของยาต้านฮอร์โมนไปกับ ‘คุณหมอซัง’ พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง

ทำไมการรับ ‘ฮอร์โมนเพศหญิง’ จึงก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมได้

อีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมก็คือ การรับฮอร์โมนเพศหญิงเป็นเวลานาน มาร่วมค้นหาว่าฮอร์โมนเพศหญิงใดบ้างที่อันตรายกับสาวๆ อย่างพวกเราไปกับ ‘คุณหมอส้ม’ รศ. พญ.นภา ปริญญานิติกูล

พญ.กมลพร พูลพุฒ : อย่างน้อยก็แค่ ‘มะเร็ง’

เดือนนี้ TBCC ชวนมาทำความรู้จัก คุณหมอก้อย-พญ.กมลพร พูลพุฒ คุณหมอที่เปลี่ยนสถานะจากผู้รักษามาเป็นผู้ป่วยมะเร็ง แอดมินคนเก่งแห่งเพจ ‘เมื่อหมอเป็นมะเร็ง’ อีกหนึ่งพื้นที่ดีๆ ที่แบ่งปันข้อมูลข่าวสาร เรื่องเล่า เรื่องราว กระทั่งส่งต่อกำลังใจไปสู่ผู้ป่วยมะเร็งมากมาย…

ควันบุหรี่มือสาม : ภัยร้ายทำลาย ‘เต้า’ ที่เรามองไม่เห็น

เพื่อเป็นการต้อนรับวันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) ที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ TBCC ขอชวนแฟนๆ มาทำความรู้จักกับ ‘ควันบุหรี่มือสาม’ อีกหนึ่งสาเหตุที่อาจจะทำให้เรากลายเป็นมะเร็งเต้านมโดยไม่รู้ตัว…   

พานาคอตต้าสตรอว์เบอร์รี

เดือนนี้แม่บ้านคีโมจึงมาชวนเข้าครัวทำ ‘พานาคอตต้าสตรอว์เบอร์รี’ เมนูดับร้อน เปรี้ยวหวานโดนใจ สูตรนี้ทำทานเองได้ง่าย แถมอร่อยได้ไม่ยาก หากพร้อมทำกันแล้ว ผูกผ้ากันเปื้อนให้แน่น แล้วมาลุยกันเลยค่ะ

ออกกำลังกายแบบไหนช่วยลดมะเร็งได้

เพราะการออกกำลังกายคือยาที่ดีที่สุด แต่จะออกกำลังกายอย่างไรให้ลดความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง ออกกำลังแบบไหนไม่ให้มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ วันนี้ คุณหมอซัง-พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ มีคำตอบมาฝาก

‘งาดำ’ ต้านมะเร็งได้จริงหรือ

ว่ากันว่า ‘งาดำ’ มีฤทธิ์ทำให้เซลล์มะเร็งฝ่อและตายได้จริงไหม กินแล้วก้อนมะเร็งจะยุบจริงหรือเปล่า มาหาคำตอบไปพร้อมกันกับ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ

‘ก้อน’ แบบไหนบ้างที่มีโอกาสพัฒนาเป็นมะเร็งเต้านม

เพราะอาการ ‘ก้อน’ เป็นอาการอันดับหนึ่งของมะเร็งเต้านม แต่รู้ไหมว่าก้อนแบบไหนบ้างที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็ง มาไขข้อสงสัยไปกับ ผศ. พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ

สรินยา กูเทียเรซ : สัญญาณเตือนของชีวิตที่เรียกว่า ‘มะเร็ง’

เดือนนี้ TBCC ชวนมาสัมผัสเรื่องราวของมะเร็งในมุมมองของ ‘หนูเล็ก-สรินยา (เล็กเปี่ยม) กูเทียเรซ’ อดีตนักศึกษาปริญญาเอก สาขาบริหารการศึกษา ผู้หญิงที่มีความฝันอยากมีโรงเรียนอนุบาลเป็นของตัวเอง ว่าที่เจ้าสาวที่กำลังจะเข้าสู่ประตูวิวาห์หลังเรียนจบ แต่ทุกอย่างเหมือนจะพังลงทันทีที่เธอพบว่าตัวเองกำลังเป็นมะเร็งเต้านม ชนิดเฮอร์ทู (HER2) ระยะ 3 เฉียดเข้าสู่ระยะ 4 เธอจัดการมันอย่างไรไปติดตามพร้อมๆ กันได้เลย

5 เรื่องจริง! ‘มะเร็งเต้านม’ ที่คุณ (อาจ) ยังไม่รู้

อย่าบอกว่าคุณรู้จักมะเร็งเต้านมดีพอ!?! หากคุณยังไม่ได้อ่านบทความนี้ 5 เรื่องจริงเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมที่คุณอาจจะยังไม่รู้ และบางเรื่องรู้แล้วจะเหวออออ! เลยล่ะ—จะบอกให้

หมึกไข่ต้มน้ำดำ

เดือนนี้แม่บ้านคีโมมาชวนทุกคนลองทำ ‘หมึกไข่ต้มน้ำดำ’ เมนูง่ายๆ ที่เชื่อว่าถูกปากถูกใจทุกเพศทุกวัยแน่นอน หากอยากรู้ว่าทำอย่างไร คลิกเข้าไปอ่านกันได้เลย

กระบวนการเสริมสร้างเต้านมในผู้ป่วยมะเร็งแตกต่างจากการเสริมเต้านมในคนปกติอย่างไร

‘เสริมสวย’ และ ‘เสริมสร้าง’ เต้านมนั้นแตกต่างกันอย่างไร มาไขข้อข้องใจไปกับ ‘อาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์’ อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

ผู้ป่วยมะเร็งที่เข้าสู่การรักษาแล้วมีภาวะซีดหรือเม็ดเลือดแดงต่ำ แก้ได้อย่างไรบ้าง

เพราะ ‘ภาวะซีด’ เป็นอาการข้างเคียงจากการรักษาที่ผู้ป่วยมะเร็ง (เกือบ) ทุกคนต้องเจอ เราจะแก้ไขได้อย่างไร วันนี้มาฟังคำตอบจาก ดร.กมล ไชยสิทธิ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ

รัตนวดี กิตติกูลไพศาล : ‘มะเร็ง’ ขับเคลื่อนเวอร์ชันชีวิต

เดือนนี้ TBCC ชวนมาสัมผัสประสบการณ์ตลกร้ายที่กลายเป็นโชคดีของ ออย-รัตนวดี กิตติกูลไพศาล แม่ทัพทางการตลาดของบริษัทหลักทรัพย์จำกัดมหาชนแห่งหนึ่ง ซึ่งคำว่า ‘ปาฏิหาริย์’ อาจจะน้อยไปสำหรับประสบการณ์ครั้งนี้!

HOW TO : 7 เคล็ดลับนอนให้ดี…ไม่มีโรค

เพราะการนอนเป็นเคล็ดลับสุขภาพดีที่เราทุกคนสามารถเริ่มต้นง่ายๆ ได้ด้วยตัวเองและเพื่อต้อนรับ ‘วันนอนหลับโลก’ (World Sleep Day) ที่กำลังจะมาถึงในเดือนมีนาคมนี้ TBCC จึงขอรวบรวม 7 วิธีนอนหลับให้ดี เพื่อชีวีไม่มีโรคมาฝากกัน

ต้มจืดมะระยัดไส้หมู

เดือนนี้ แม่บ้านคีโมร่วมต้อนรับ ‘วันนอนหลับโลก’ ที่กำลังจะมาถึงด้วย ‘ต้มจืดมะระยัดไส้หมู’ เมนูอาหารไทยที่ช่วยให้นอนหลับสบาย พร้อมไปสัมผัสเสน่ห์แห่งความขมของเมนูนี้กันแล้วหรือยัง? คลิกเลย!

‘นอนดึก’ ทำให้เป็นมะเร็งจริงหรือ

‘การนอน’ กับ ‘มะเร็ง’ มาเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร และจริงไหมที่นอนดึกเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งมาฟังคำตอบจากคุณหมอซัง หรือ พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ และจิตตะไลฟ์เซ็นเตอร์ ไปพร้อมๆ กันเลย

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกิน ‘ถั่วเหลือง’ ได้หรือไม่

ถือเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมานานว่า ถั่วเหลืองเป็นตัวกระตุ้นการเกิดมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่ วันนี้ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ มีคำตอบมาฝาก

สุพิชญาณ์ พึ่งหิรัญ : มะเร็งไม่น่ากลัวเท่า ‘มโน’

เดือนแห่งความรักนี้พบกับเรื่องราวของจ๊อบแจ๊บ-สุพิชญาณ์ พึ่งหิรัญ ผู้ก่อตั้งเพจ ‘มะเร็งไม่น่ากลัวเท่ามโน’ พื้นที่ที่เธอใช้บอกผู้คนว่า เธอคืออดีตผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ยังมีชีวิตและมีความสุขดีเหมือนคนปกติทั่วไป ที่สำคัญเธอมีความรักที่อยู่เหนือนิยาม ความหมาย หรือเงื่อนไขใดๆ จนใครๆ ก็อาจจะนึกไม่ถึง…

เสพติดความหวาน…ระวังมะเร็ง!

เพราะรสหวานไม่ได้เป็นแค่ศัตรูต่อความสวยของสาวๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นมหันตภัยต้นเหตุของโรคร้ายหลากหลายที่เราคาดไม่ถึง เดือนนี้จึงขอส่งบทความไม่ค่อยหวานเพื่อเตือนใจสาวๆ ที่เสพติดความหวาน…ด้วยความปรารถนาดีจาก TBCC

กะหล่ำปลีผัดน้ำปลาโรยปลาเค็มรวน

ต้อนรับเดือนแห่งความรัก แม่บ้านคีโมชวนมาทำ ‘กะหล่ำปลีผัดน้ำปลาโรยปลาเค็มรวน’ เมนูเฮลตี้ดีต่อใจด้วยประโยชน์จากกะหล่ำปลีที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุมากมายหลายชนิด

เคยทราบมาว่า การกินช่วยแก้ไข ‘พันธุกรรมมะเร็ง’ ในตัวเราได้จริงหรือไม่ อย่างไรบ้าง

มาไขข้อข้องใจ การกินช่วยแก้ไขพันธุกรรมมะเร็งได้จริงไหมกับ ‘ดร.กมล ไชยสิทธิ์’ อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ

รินทราย แก้วมณีวัฒน์ : ‘มะเร็ง’ มรดกพลิกชีวิต

TBCC ทักทายปีเสือด้วยเรื่องราวของครูฟิล์ม-รินทราย แก้วมณีวัฒน์ อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับฮอร์โมนเป็นบวกระยะ 2 หนึ่งในมรดกทางพันธุกรรมที่เธอไม่อาจปฏิเสธ และนั่นทำให้เธอค้นพบความสุขจากการเป็น ‘ผู้ให้’ ไม่สิ้นสุด…

6 ภารกิจเปลี่ยน ‘เหยื่อ’ มาเป็น ‘ผู้ล่า’ มะเร็งเต้านม

เดือนนี้ TBCC ขอท้าทายสาวๆ ให้พลิกบทบาทจาก ‘เหยื่อ’ มาเป็น ‘ผู้ล่า’ ผ่าน 6 ภารกิจพิชิตมะเร็งเต้านมตัวร้าย ศัตรูหมายเลขหนึ่งของผู้หญิงไทยวัย 20 ปีขึ้นไปทุกคน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีเต้าและยังไม่อยากกลายเป็นเหยื่อ! เชิญล้อมวงกันเข้ามา เรามีภารกิจสำคัญมอบหมายให้คุณ (ต้อง) ทำ!

เต้าหู้หน้าหมู

แม่บ้านคีโมต้อนรับปีขาลด้วยเมนูสุขภาพ ‘เต้าหู้หน้าหมู’ แคลอรีต่ำแต่ความอร่อยสูงแถมยังได้คุณประโยชน์ อีกหนึ่งความอร่อยที่ TBCC ไม่อยากให้พลาดด้วยประการทั้งปวง…

ค่าเลือดมะเร็งคืออะไร สำคัญอย่างไร

อีกหนึ่งคำถามคาใจของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่หลายคนยังไม่รู้ วันนี้ พญ.รัตน์กวิน จิตตวัฒนรัตน์ หรือคุณหมอซัง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมมะเร็ง มาไขข้อข้องใจให้ ใครอยากรู้ไปติดตามกันได้เลย

กฤดาญชลี อำไพพงษ์ : Cancer Tough But So Are You

TBCC ส่งท้ายปลายปีและเดือนแห่งอาสาสมัครสากลด้วยเรื่องราวของ ‘น้อย-กฤดาญชลี อำไพพงษ์’ ผู้จัดการอาวุโสด้านการสนับสนุนโครงการ คอมแพสชั่น ประเทศไทย องค์กรคริสเตียนที่ไม่แสวงหาผลกำไร เจ้าของเพจ Cancer Tough But So Are You พื้นที่แห่งการแบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้และค้นพบความหมายของชีวิตจากการเผชิญหน้ากับมะเร็งเต้านมระยะ 2 เมื่อ 2 ปีก่อน

7 ของขวัญวันป่วยๆ

เดือนนี้ Lifestyle ขอนำเสนอไอเดียที่จะช่วยเหลือผู้ป่วย ไม่ใช่เฉพาะโรคมะเร็ง แต่ผู้ป่วยทุกโรคที่กำลังเผชิญกับความทุกข์เศร้า หวาดกลัว หรือกังวล ให้ Move on ไปข้างหน้า ผ่านการทำสิ่งพิเศษเล็กๆ น้อยๆ ที่พิเศษและแตกต่าง แต่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยระหว่างการรักษาหรือพักฟื้นร่างกาย

กล้วยออนเซ็น

แม่บ้านคีโมขอบอกลาปีฉลูด้วยเมนูของว่างในบรรยากาศปาร์ตี้ที่ทำง่ายๆ ได้สุขภาพ แถมอร่อยฟินได้ทั้งครอบครัวกับ ‘กล้วยออนเซ็น’ หรือกล้วยต้ม เมนูพื้นบ้านที่ทรงคุณประโยชน์ เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการอาเจียนหรือท้องเสียไม่ควรพลาดเมนูนี้ด้วยประการทั้งปวง  

ผู้ชายแบบไหนที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด มีวิธีป้องกันหรือไม่ อย่างไร

รู้ไหมว่า ผู้ชายก็เป็นมะเร็งเต้านมได้ อยากรู้ไหมผู้ชายแบบไหนที่เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด และมีวิธีป้องกันหรือไม่ อย่างไร วันนี้ อาจารย์แพทย์หญิงนภา ปริญญานิติกูล มีคำตอบมาให้

การตรวจเต้านมใน ‘ผู้ชาย’ และ ‘ผู้หญิง’ แตกต่างกันอย่างไร

เพราะผู้ชายก็เป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่จะตรวจเต้านมอย่างไร เหมือนการตรวจเต้านมของผู้หญิงไหม วันนี้ ผศ. พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ มาไขข้อข้องใจให้ทราบ

กุลวรรณ โสตถิกุล : Triple Negative หลักสูตรชีวิตฉบับเร่งรัด

Life Goes On เดือนนี้ TBCC ชวนคุณผู้อ่านมาสัมผัสหลักสูตรชีวิตฉบับเร่งรัดในนามของ Triple Negative สู่การเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ของ จ๊ะจ๋า-กุลวรรณ โสตถิกุล ที่ปรึกษาทางด้านการตลาด อดีตอาจารย์สาขาวิชาการตลาดในระดับอุดมศึกษา คุณแม่ลูกหนึ่งผู้ผ่านประสบการณ์การเผชิญหน้ากับมะเร็งชนิดรุนแรง และนั่นเองที่ทำให้เธอได้เข้าใจ ‘คุณค่าของลมหายใจ’ อย่างลึกซึ้ง

HOW TO : มาเปลี่ยนลุคสุดจึ้ง แบบไม่ต้องพึ่งวิก 

LIFESTYLE เดือนนี้ชวนสาวๆ ชาวคีโมมาเปลี่ยนลุคไปกับแฟชั่น ‘ผ้าโพกศีรษะ’ ไอเทมเสริมความปังในวันไร้เส้นผม ผ่านคลิปวิดีโอสอนโพกศีรษะแบบง่ายๆ จาก Mags-Magdalena Bujalski ยูทูเบอร์สาวชาวแคนาดาวัย 24 ปี อดีตผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 4 ที่โปรดปรานการโพกศีรษะในช่วงรักษาตัวเป็นชีวิตจิตใจ

สุกี้แห้งเส้นไข่ขาว

เดือนนี้ แม่บ้านคีโมชวนมาอร่อยง่ายๆ ไปกับ ‘สุกี้แห้งเส้นไข่ขาว’ เมนูเติมพลังกายเสริมพลังใจสำหรับผู้ป่วย หรือแม้แต่ผู้ไม่ป่วยก็อร่อยไปด้วยกันได้ แถมได้สุขภาพเพราะเส้นไข่ขาวนี้ปราศจากน้ำตาล ไขมัน และกลูเตน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ควบคุมน้ำหนัก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง…

ระหว่างการรักษามะเร็ง มีอาหารเสริมหรือวิตามินใดๆ ที่ช่วยต้านมะเร็งได้บ้างไหม?

เป็นปัญหาที่เชื่อว่าผู้ป่วยหลายคนกำลังสงสัย วันนี้ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ มาไขข้องใจ

(ในคนปกติ) สาวๆ ที่ศัลยกรรมหน้าอกด้วยวัตถุแปลกปลอม เช่น ซิลิโคน ฯลฯ มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าสาวๆ ที่ไม่ทำศัลยกรรมหน้าอกไหม?

คำถามหนักอกของสาวๆ ที่อยากจะอัพไซส์ มาไขข้อข้องใจกับ อาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ จากโรงพยาบาลศิริราช กันได้เลย

อมรา พลอยสังวาลย์ : เมื่อมะเร็งร้ายกลายเป็นการผจญภัยของชีวิต

ในเดือนรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านมนี้ Life Goes On ชวนคุณผู้อ่านผจญภัยไปกับชีวิตนักภาษาศาสตร์สาว อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด TNBC ที่เผชิญการกลับมาของมะเร็งชนิดเดียวกันซ้ำๆ ภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี และนั่นเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตที่เธอไม่เคยลืม…

โนบรากัน…สักวัน (ไหม?)

Lifestyle เดือนแห่งการรณรงค์มะเร็งเต้านมนี้ TBCC ถือโอกาสชวนสาวๆ มา ‘โนบรา’ อย่างเป็นทางการใน ‘วันโนบราสากล’ (National No Bra Day) และมาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันว่า การใส่บรานั้นดีหรือร้ายกันแน่?

แกงบวดฟักทอง

เดือนนี้ แม่บ้านคีโมชวนมาทำขนมหวานไทยพื้นบ้านกับขั้นตอนง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำทานเองได้อย่าง ‘แกงบวดฟักทอง’ สูตรไร้กะทิ แถมอุดมคุณค่าทางโภชนาการ หากอยากลองลิ้มชิมรส ก็ลงมือกันได้เลย

การทำศัลยกรรมเสริมเต้าหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม มีความเสี่ยงจะกลับมาเป็นอีกสูงกว่าไม่ทำหรือไม่?

อาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์  โรงพยาบาลศิริราช มาไขข้อสงสัย เสริมสร้างเต้านมใหม่ หลังต้องตัดเต้านมทิ้ง จะเพิ่มความเสี่ยงให้ ‘มะเร็ง’ กลับมาอีกหรือเปล่า

(ในคนปกติ) ซีสต์ที่เต้านม หากปล่อยทิ้งไว้ จะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ อย่างไร?

ผศ. พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาตอบคำถามคาใจที่สาวๆ วัย 45 อัพไม่ควรพลาด

ฟ้า ปราณีโชติรส : นางฟ้า ‘กู้ใจ’ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

Life Goes Onเดือนนี้ขอพาผู้อ่านมาพบกับเรื่องราวของอดีตพนักงานสายการบินที่มะเร็งเต้านมนำพาชีวิตเธอมาพบกับเส้นทางความสุขง่ายๆ ของชีวิตผ่านบทบาทประธานกลุ่ม ‘เพื่อนช่วยเพื่อน’ จิตอาสา ‘กู้ใจ’ ผู้ป่วยมะเร็งแห่งศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถเพื่อโรคมะเร็งเต้านม สภากาชาดไทย หากอยากรู้ว่าความสุขนั้นคืออะไรไปติดตามอ่านพร้อมๆ กันได้เลย

เปิดวาร์ปงานวิจัย ‘โรค’ ตะลึง! : พฤติกรรมใดบ้างที่มะเร็งเต้านมชอบหรือชิ่ง

LIFESTYLE เดือนนี้ ขอรวบรวมงานวิจัยสู่การค้นพบสุดอึ้งเกี่ยวกับพฤติกรรมธรรมดาๆ ที่อาจพาเราห่างไกลการเป็นมะเร็งเต้านมได้

วุ้นกะทิมะพร้าวน้ำหอม

เดือนนี้ แม่บ้านคีโมชวนมาอร่อยกับเมนูของหวานเบาๆ ที่ประโยชน์ไม่เบาอย่าง ‘วุ้นกะทิมะพร้าวน้ำหอม’ เมนูจากมะพร้าวน้ำหอมสดๆ เน้นๆ ที่นอกจากจะได้ความหอมจากน้ำมะพร้าวแล้ว ยังได้ความหวานมันจากกะทิ ที่สำคัญทำได้ง่าย แถมอร่อยชื่นใจได้ทั้งครอบครัว  

การทำศัลยกรรมเสริมเต้าแบบไหนปลอดภัยที่สุด สำหรับคนเคยเป็นมะเร็งเต้านม?

นับเป็นคำถามคาใจของผู่ป่วยมะเร็งเต้านมจำนวนไม่น้อยว่าศัลยกรรมเสริมเต้าแบบไหนปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม วันนี้มาฟังคำตอบจากอาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์  โรงพยาบาลศิริราชกันเลย

รับประทานผักตำลึงช่วยต้านมะเร็งได้จริงไหม?

ตำลึงสรรพคุณน่าตะลึง อีกหนึ่งผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์มหาศาล แต่จะต้านมะเร็งได้จริงไหม มาฟังคำตอบจากดร.กมล ไชยสิทธิ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการไปพร้อมๆ กันเลย

นพ.ฐาปนัสม์ ลิขิตมาศกุล : มะเร็งเต้านมของ ‘แม่’ บันดาลแรง

จากมะเร็งเต้านมของ ‘แม่’ สู่เส้นทางศัลยแพทย์เต้านม ผู้เชื่อว่านอกจากการรักษาที่ดีแล้ว ‘จิตใจ’ ของคนเรานั้น มีผลต่อการรักษาโรคไม่น้อย รอดหรือไม่รอดอยู่ที่ ‘ใจ’ ของเรานี่แหละ

ผู้ชายในโลกของ ‘มะเร็งเต้านม’

LIFESTYLE เดือนนี้ชวนมาทำความรู้จักกับ 3 สุภาพบุรุษที่เป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ ผู้ขับเคลื่อนและพลิกโลก (โรค) มะเร็งเต้านมที่สตรีอย่างเราๆ ต้องเหลียวมอง

ขนมกล้วยมะพร้าวอ่อน

“เวลาซื้อกล้วยมา มีบ้านไหนทานไม่ทันบ้างไหมคะ?” วันนี้แม่บ้านคีโมมาชวนแปลงกล้วยเป็นเมนูอร่อยแบบกล้วยๆ ถ้าพร้อมแล้วตามมาดูกันเลยค่ะ

ทำไมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมต้องกินยาต้านฮอร์โมน และต้องกินไปนานเท่าไร?

อีกหนึ่งคำถามคาใจของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่หลายคนยังไม่รู้คำตอบ วันนี้แพทย์หญิงพจนา จิตตวัฒนรัตน์มาไขข้อข้องใจให้ ใครอยากรู้ไปติดตามกันได้เลย

เต้านมส่วนเกินที่รักแร้หลังการตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมให้กับผู้หญิงหรือไม่ อย่างไร และควรผ่าตัดออกหรือไม่?

เรื่องน่ารู้ของเต้านมส่วนเกินบริเวณรักแร้ที่สาวๆ ไม่ควรพลาด ใครที่กำลังกังวลปนสงสัยว่าส่วนเกินนี้จะทำให้เราเสี่ยงเป็นมะเร็งหรือเปล่า วันนี้ไปฟังคำตอบจากอาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์พร้อมๆ กันได้เลย

ทัศนีย์ พงศ์กิจธนากร : โอบกอด ‘มะเร็ง’ ให้เป็น…ก็จะเห็นความงดงาม

Life Goes On เดือนนี้ชวนมาโอบกอด ‘มะเร็ง’ ไปกับโบว์-ทัศนีย์ พงศ์กิจธนากร อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะ 2B ที่แปลงมะเร็งเป็นแรงบันดาลใจทำความฝันในวัยเด็กให้เป็นจริงได้ กับการเป็น ‘นักไอซ์ฟิกเกอร์สเกต’ ในวัย 50 กะรัต!?!

สปาเกตตีปลาเค็มรวน

เดือนนี้แม่บ้านคีโมมาชวนเนรมิตเมนูเส้นๆ ให้เป็นเรื่องง่ายๆ ทำได้ภายใน 15 นาที ใครเลิฟเมนูเส้นๆ ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมควรออกกำลังกายอย่างไรดี?

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมควรออกกำลังกายหรือไม่ และควรออกกำลังอย่างไรดี คำถามยอดฮิตที่ทุกคนอยากรู้ วันนี้แพทย์หญิงพจนา จิตตวัฒนรัตน์มีคำตอบมาฝาก

(ในคนปกติ) ชุดชั้นในมีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่ เช่น ใส่ชุดชั้นในมีโครงรัดเกินไป หรือใส่ชุดชั้นในนอนทุกคืน เหล่านี้มีโอกาสทำให้เป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้นหรือไม่?

เคยสงสัยไหม ‘ชุดชั้นในมีโครง’ จะเป็นตัวการทำให้สาวๆ อย่างเราเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมไหม มาฟังคำตอบจากผศ. พญ.ศศิธร สุจริตธนะการกันเลย

ธนพร แผ่สุวรรณ : ไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือ ‘ใจ’ เรา

คุณจะทำอย่างไร ถ้ารู้ว่าคนที่รักเป็นมะเร็ง หนำซ้ำยังมารู้ตัวว่าตัวเองก็เป็นมะเร็งอีก นี่คือเรื่องจริงของอดีตแอร์โฮสเตสสาวหัวใจนักสู้พลังบวก บทพิสูจน์ของประโยคที่ว่า ‘ไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือกว่าพลังจากใจของเรา’

ของขวัญจาก ‘มะเร็งเต้านม’

LIFESTYLE เดือนนี้ขอรวบรวม ‘ผลิตผล’ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโรคมะเร็งเต้านม จนกลายมาเป็นของขวัญสุดพิเศษที่ทำให้โลก-โรคนี้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด…

‘ซุปเปรี้ยว’ เมนูไล่หวัด ฉบับแม่บ้านคีโม

ฤดูฝนกลับมาเยือนอีกครั้งหนึ่งแล้ว แม่บ้านคีโมชวนทำเมนูซุปร้อนๆ รสชาติจัดจ้านอย่าง ‘ซุปเปรี้ยว’ หรือ ‘ปลากะพงต้มผักกาดดอง’ เมนูไล่หวัดที่อยากให้คุณลองลิ้มชิมรสกันดู รับรองไม่ผิดหวัง!

ในคนปกติขนาดหน้าอกมีผลต่อโอกาสการเกิดมะเร็งหรือไม่ เช่น ยิ่งหน้าอกใหญ่ ยิ่งเสี่ยงภัยมะเร็งเต้านม?

จริงไหมที่ขนาดหน้าอกมีผลต่อโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านม มาฟังคำตอบจากอาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ ไปพร้อมๆ กันเลย

อัพอึ๋มมาแล้วจะตรวจมะเร็งได้ไหม ตรวจอย่างไรปลอดภัยที่สุด?

ไขข้อสงสัย! ซิลิโคนเสริมอึ๋มกับการตรวจเต้านมอันตรายจริงหรือ มาฟังคำตอบพร้อมกันจากคุณหมอซัง-แพทย์หญิงพจนา จิตตวัฒนรัตน์

ซุปผักรักษ์สุขภาพ

เดือนนี้แม่บ้านคีโมชวนทำ ซุปผักรักษ์สุขภาพ น้ำซุปผักใสๆ ‘สูตรใส่ใจ ไม่ใส่ผงชูรส’ อร่อยแค่ไหนตามไปชิมกันได้เลย

10 หนังดังชวนเปลี่ยน​มุมมองต่อ ‘มะเร็ง’​

LIFESTYLE เดือนนี้ ชวนคุณมากักตัวหนีโควิดไปกับ 10 ภาพยนตร์น้ำดีที่เปลี่ยน ‘มะเร็ง’ เป็นของขวัญ เป็นพลังใจ ก้าวข้ามคำว่า ‘โรคร้าย’ กลายเป็นความงดงาม เปลี่ยนบรรยากาศการอยู่บ้านให้สนุกสนานกว่าที่คิด

พัชรินทร์ ศรีวรวิทย์กุล : อย่าให้มะเร็งพรากความเป็น ‘เรา’

สาวสวยอดีตผู้ป่วยมะเร็งชนิด Triple Negative Breast Cancer (TNBC) ระยะ 2B ที่มีความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นแล้วล้วนดีเสมอ ไม่เว้นแม้ ‘มะเร็ง’ ที่เธอต้องเผชิญมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว และมะเร็งครั้งนี้ยังเป็นของขวัญที่ทำให้ชีวิตของเธอเปลี่ยนไปมากมาย ถ้าอยากรู้ว่าเปลี่ยนไปอย่างไร เราลองติดตามอ่านพร้อมๆ กัน

เคยได้ยินว่าเนื้อแดงและไขมันสัตว์เร่งมะเร็งจริงหรือไม่ และการงดกินเนื้อสัตว์หันมากิน Plant-based Food หรือมังสวิรัติ จะช่วยต้านมะเร็งเต้านมได้หรือไม่?

คำถามที่หลายคนสงสัย วันนี้ดร.กมล ไชยสิทธิ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการมีคำตอบมาฝาก

ในคนปกติ ความอ้วนมีผลโดยตรงกับการเกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่ เช่น ผู้หญิงอ้วนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้มากกว่าผู้หญิงผอมจริงหรือไม่?

วันนี้อาจารย์แพทย์หญิงนภา ปริญญานิติกุลมีคำตอบให้ ไปอ่านพร้อมๆ กันเลย

สิริธนา หงษ์โสภณ : หากมะเร็งทำให้ทุกข์นัก ก็เอา ‘ใจ’ ไปพักไว้ที่อื่น

นักเขียนนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวน เจ้าของนามปากกา ‘ทอม สิริ’ อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมวัย 65 ปีผู้ใช้งานเขียนที่เธอรักก้าวข้าม ‘มะเร็ง’ ถ้าอยากรู้ว่าเธอมีวิธีอย่างไร ลองไปติดตามอ่านพร้อมๆ กันได้เลย…

การตัดเต้านมทิ้งเมื่อเป็นมะเร็งคือการถอนรากถอนโคน จะไม่กลับมาเป็นมะเร็งเต้านมอีกจริงไหม?

ตัดทิ้งทั้งทีจะมีสิทธิ์กลับมาเป็นอีกไหม วันนี้ ผศ. พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ มาไขข้อข้องใจให้

เคล็ดลับความอร่อย : ปรุงผักอย่างไร ให้สารอาหารครบถ้วน

เดือนนี้สายคลีนกรี๊ดกันได้เลย เพราะแม่บ้านคีโมมีเคล็ดลับการปรุงผักสดแบบคงคุณค่า รักษาวิตามิน แม้ผ่านความร้อนมาฝากกันแบบจุใจ ไปติดตามพร้อมๆ กันค่ะ

ส่องลุคสวย แซ่บ สายสตรอง ฉบับ Hollywood

จะมีสักกี่ครั้งในชีวิตของผู้หญิงเรา ที่จะได้เปลี่ยนลุคสุดปัง! แม้จะเป็นภาวะจำยอมก็เถอะ แต่ถ้าเราไม่จำนนกับมันซะอย่าง ชีวิตก็ยังมีอะไรให้เราสนุกกับมันอีกเยอะ!

ญาณีนุช ศักดิ์ศรีสุวรรณ : HER2 ครูสอนชีวิต

อดีตโปรเจกต์ เมเนเจอร์สาวผู้มีพลังล้นเหลือ แต่กลับพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งเต้านมชนิดรุนแรงในวัยที่เต็มไปด้วยความฝัน และมีคำถามมากมายที่ชีวิตยังไม่มีโอกาสได้หาคำตอบ เธอก้าวผ่านสิ่งเหล่านั้นมาได้อย่างไรไปติดตามอ่านพร้อมๆ กัน…

วุ้นลูกแก้วอัญชันมะพร้าวอ่อน

เมนูหวานๆ รับเทศกาลแห่งความรัก วาเลนไทน์ปีนี้ แม่บ้านคีโมชวนเข้าครัวทำเมนูพิเศษเพื่อคนพิเศษ ขนมหวานทานง่าย แถมปลอดภัย ไร้ไขมันทรานส์

สวยฟาดรับวาเลนไทน์ เมคอัพปรับลุคป่วย…ให้สวยปัง!

วาเลนไทน์ทั้งที จะปล่อยตัวเป็นป้าอยู่ได้ไง มาอัพลุคหวาน ใส ให้คนข้างกายใจสั่นเล่นๆ กันเถอะ LIFESTLYE เดือนนี้ ขอรวบรวมเทคนิคปรับลุคป่วยให้ดูสวยปัง! ด้วยเมคอัพง่ายๆ สไตล์เบาๆ แต่เอาอยู่! ทุกสถานการณ์มาฝาก

กำไลทิพย์ ศิริธรรมขันติ : ความรัก โยคะ และมะเร็ง

“ความรักชนะทุกอย่าง” วลีนี้ยังคงใช้ได้เสมอ ยืนยันด้วยเรื่องราวของกำไลทิพย์ ศิริธรรมขันติ ผู้ก่อตั้งชานติโยคะเชียงราย อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผู้ค้นพบความหมายของการมีชีวิตอยู่หลังผ่านการเป็นมะเร็งเต้านมเมื่อ 5 ปีที่แล้ว

สเต๊กปลาพาเพลิน

เติมสีสันรับวันปีใหม่กับเมนู ‘สเต๊กปลากะพง’ ที่มาพร้อมเพื่อนซี้ ‘สลัดผักสามสี’ อร่อยง่ายๆ แถมได้สุขภาพจาก ‘แม่บ้านคีโม’

ไอยรา ปัญจพรผล : HAPPY NEW YEAR, HAPPY NEW LIFE สู่ชีวิตใหม่ที่คิดไม่ถึง

TBCC ขอต้อนรับปีใหม่ด้วยเรื่องการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ไปพร้อมๆ กับการต่อสู้กับโรคมะเร็งเต้านมของ ‘ปอย-ไอยรา ปัญจพรผล’ ที่พลิกชีวิตเธอเป็นคนใหม่อย่างที่ตัวเธอเองยังคาดไม่ถึง

บะหมี่หน้าไก่

เดือนนี้ แม่บ้านคีโมขอเสนออาหารจานเดียว ‘บะหมี่หน้าไก่’  ไร้สาร สามารถทำรับประทานได้ทั้งครอบครัวเลย อร่อย ถูกใจ ปลอดภัยทั้งผู้ป่วยและผู้ไม่ป่วยแน่นอน

ขนมกล้วยมะพร้าวอ่อน สูตรธรรมชาติ

เพราะกล้วยถือเป็นผลไม้มากคุณประโยชน์ สามารถนำไปทำเมนูได้หลากหลาย ครั้งนี้มาถึงคิว ‘ขนมกล้วยมะพร้าวอ่อน’ สูตรนี้ ไร้แป้ง ไร้นม ไร้กะทิ ไร้น้ำตาล ของว่างทานเล่นระหว่างวันสำหรับผู้ป่วยที่ให้พลังงานสูง…

กล้วยบวชชี

เดือนนี้แม่บ้านคีโมเมนูอาหารว่างระหว่างวันสำหรับผู้ป่วยที่ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก แถมเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการอย่าง ‘กล้วยบวชชี’ สูตรหวานนิดเดียว ไม่ต้องเคี่ยว ไม่ต้องขูด ไม่ต้องคั้นกะทิให้เมื่อย แถมปลอดภัย ไร้สาร ไร้ไขมันทรานส์จากกะทิแตกมัน ปราศจากสารให้ความหวาน (บางชนิด) ที่ก่อมะเร็งอีกด้วย

ซี่โครงหมูผัดพริกสดพริกไทยดำ

เดือนนี้แม่บ้านคีโมขอเสิร์ฟเมนูหมู-หมูอย่าง ‘ซี่โครงหมูผัดพริกสดพริกไทยดำ’ เมนูรสจัดจ้านที่สามารถแก้อาการเบื่ออาหารและช่วยให้หลายๆ คนเจริญอาหารได้เป็นอย่างดี 

โยเกิร์ตท็อปปิ้งองุ่น

เดือนนี้แม่บ้านคีโมขอมาเพิ่มความสดชื่นให้ทุกคนด้วยเมนูของทานเล่นระหว่างวันอย่าง ‘โยเกิร์ตท็อปปิ้งองุ่น’ เมนูสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและระบบลำไส้ แถมปริมาณแคลอรี่น้อย อาหารว่างที่ทำได้ง่ายๆ แถมรสชาติดี ที่สำคัญคือหาซื้อง่าย สบายกระเป๋า

หมูผัดขิง

เดือนนี้แม่บ้านคีโมจึงขอเสิร์ฟ ‘หมูผัดขิง’ เมนูพิชิตอาการคลื่นไส้จากยาเคมีบำบัด อีกทั้งยังช่วยลดอาการท้องอืด และเบื่ออาหารของผู้ป่วยมะเร็งได้อีกด้วย 

ปลาหวานทอด

ปลาหวานทอด เมนูถือเป็นเมนู 2in1 เลยทีเดียวค่ะ จะทานเป็นข้าวกับอาหารคาวก็ได้ หรือจะทานเล่นแทนขนมขบเคี้ยวก็เพลิน ๆ ค่ะ

กล้วยน้ำว้าอบงา

‘กล้วย’ ถือเป็นผลไม้ยอดนิยมของคนไทยที่ทำเมนูหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมนูสุขภาพ เช่นเดียวกับเมนูที่แม่บ้านคีโมเอามาฝากวันนี้ ‘กล้วยน้ำว้าอบงา’ เมนูกล้วยๆ ที่ทำง่าย อร่อยได้ไม่ยาก แถมมีรสหวานตามธรรมชาติ ปราศจากน้ำตาล อีกหนึ่งเมนูที่เชื่อว่าทุกบ้านต้องติดใจแน่นอน

น้ำเต้าหู้ดอกอัญชัน

น้ำเต้าหู้ เป็นเมนูเชื่อว่าแทบทุกคนต้องเคยลองลิ้มชิมรสกันมาแล้ว เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่รักสุขภาพที่ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย เดือนนี้แม่บ้านคีโมขอนำเสนอเมนู ‘น้ำเต้าหู้ดอกอัญชัน’ เครื่องดื่มที่จะช่วยให้เส้นผมที่จะขึ้นใหม่เงางามตามธรรมชาติ

ลาบสันในไก่กุ๊กๆ

เดือนนี้แม่บ้านคีโมขอเสนอเมนูสุขภาพแซ่บซี้ดจี๊ดจ๊าด ‘ลาบสันในไก่กุ๊กๆ’ อาหารอีสานสุดคลาสสิกที่กินได้ไม่มีเบื่อ ยิ่งได้ผักสดที่ชอบมาแกล้มสักหน่อย ข้าวเหนียวร้อนๆ สักปั้น รับรองอร่อยเพลินจนลืมอิ่มเลยเชียวล่ะ

มาม่าเกาหลีผัดเบคอน

ไหนใครบอกว่า ผู้ป่วยทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่ได้ !?!  มาค่ะ วันนี้แม่บ้านคีโมจะมาบอกเคล็ดลับการทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือที่เราเรียกติดปากกันทั่วไปว่า ‘มาม่า’ อย่างปลอดภัยผ่านเมนูทำง่าย ได้สุขภาพอย่าง ‘มาม่าเกาหลีผัดเบคอน’ อีกหนึ่งเมนูที่ ‘คนรักเส้น’ ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

ปลาทูต้มส้ม

เดือนนี้ แม่บ้านคีโมของเสนอ ‘ปลาทูต้มส้ม’ หรือบางที่อาจจะเรียกว่า ต้มส้มปลาทู เมนูที่จะช่วยพิชิตอาการปากคอจืดชืด กระทั่งเบื่ออาหารของผู้ป่วยได้อย่างอยู่หมัด ด้วยรสชาติเปรี้ยวบวกกับกลิ่นจี๊ดจ๊าดของมะนาวสด รับรองว่าชามนี้ช่วยให้ผู้ป่วยเจริญอาหารได้ไม่ยาก แถมด้วยคุณค่าทาง ‘โปรตีน’ แน่นๆ จากเนื้อปลาทู ฉีกกฏอาหารมื้อป่วยสไตล์เดิมๆ เพิ่มเติมคือเสียงซดดังซู้ดดดดด…สุดฟิน!  

น้ำยาป่าน้ำพริกแกงใต้ใส่ปลาทูนึ่ง

เดือนนี้แม่บ้านคีโมมาเสิร์ฟเมนูเส้นแซ่บๆ ตั้งแต่คำแรกยันคำสุดท้ายอย่าง ‘น้ำยาป่าน้ำพริกแกงใต้ใส่ปลาทูนึ่ง’ น้ำแกงที่กินคู่กับขนมจีนและผักสดได้อย่างลงตัว สูตรนี้แม่บ้านคีโมขอรวบรัดตัดความด้วย ‘เนื้อปลาทูแกะ’ แบบไม่ต้องโขลก เสริมทัพความจัดจ้านด้วย 2 เครื่องแกง แถมใช้ ‘เกลือเม็ด’ เป็นเครื่องปรุงเพียงอย่างเดียวในเมนูนี้ ถ้าอยากรู้ว่าจะได้รสชาติอร่อยถูกปากไหม ก็ลองไปทำพร้อมๆ กันได้เลย 

ปลาเก๋าต้มเผือก

ขึ้นชื่อว่าเมนูปลา ไม่ว่าจะทำอะไรก็อร่อยง่าย แถมได้สุขภาพอยู่แล้ว เช่นเดียวกับ ‘ปลาเก๋าต้มเผือก’ เมนูชูโรงที่พบบ่อยบนโต๊ะจีนที่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ อีกหนึ่งเมนูที่ไม่อยากให้ผู้ป่วยมะเร็ง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัดพลาดเลยทีเดียว 

ซุปผักเต้าหู้ไข่ไร้เนื้อสัตว์

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย หลายๆ คนอาจจะกำลังเผชิญอาการหวัด คัดจมูก มีไข้ หรือแม้แต่อาการเจ็บคอกันอยู่ เดือนนี้แม่บ้านคีโมจึงถือโอกาสชวนมาทำเมนู ‘ซุปผักเต้าหู้ไข่ไร้เนื้อสัตว์’ ซุปหวานหอมรสกลมกล่อม สำหรับซดอุ่นๆ ช่วยสมานลำคอได้เป็นอย่างดี แถมทำง่าย อร่อยง่าย ย่อยง่าย และได้สุขภาพแบบเต็มๆ ที่สำคัญเหมาะกับเป็นเมนูวันที่ต้องการเคลียร์ผักในตู้เย็นของเรามากๆ ลองเปิดดูตู้เย็นดูว่า พร้อมจะเคลียร์แล้วหรือยัง ถ้าพร้อม! ก็ไปเคลียร์กันได้เลย

นมอัลมอนด์ธัญพืชรวม

ขึ้นชื่อว่า ‘อัลมอนด์’ แล้วทำอะไรก็ดีไปหมด เพราะนี่คือซูเปอร์ฟู้ดในดวงใจของสาวๆ สายเฮลธ์ตี้ที่เต็มไปด้วยวิตามินอีและแร่ธาตุต่างๆ มากมาย และเพื่อเอาใจสาวๆ สายหวานที่รักสุขภาพ เดือนนี้แม่บ้านคีโมจึงภูมิใจนำเสนอ ‘นมอัลมอนด์ธัญพืชรวม’ เมนูของหวานที่ทำง่ายๆ หม่ำแล้วไม่ทำลายสุขภาพ แถมได้คุณประโยชน์จากอัลมอนด์ รวมถึงธัญพืขไปเต็มๆ 

ผัดเห็ดหูหนูเต้าหู้ญี่ปุ่น

ช่วงปลายปีแบบนี้ หลายคนอาจจะโหมเคลียร์งานอย่างหนัก เพื่อเตรียมตัวพักผ่อนยาวช่วงส่งท้ายปลายปี เดือนนี้แม่บ้านคีโมจึงมาชวนทำ ‘ผัดเห็ดหูหนูเต้าหู้ญี่ปุ่น’ เมนูมังสวิรัติสูตรพิเศษเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังงานและวิตามินมากมาย โดยเฉพาะ ‘เห็ดหูหนูดำ’ พระเอกในเมนูนี้ที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคหัวใจ สำคัญไปกว่าเห็ดหูหนูนี้ยังช่วยป้องกันมะเร็งและลดอาการแทรกซ้อนภายหลังจากการฉายรังสีอีกด้วย รู้อย่างนี้แล้วรออะไร เข้าครัวกันได้เลย!

สุกี้อกไก่โรล

เดือนนี้แม่บ้านคีโมชวนทำ ‘สุกี้อกไก่ม้วน’ เมนูอร่อยได้ แบบไม่ต้องกลัวอ้วน เพราะแคลอรีต่ำ ไม่ทำลายสุขภาพ เมนูยอดฮิตสำหรับผู้ป่วยและสาวๆ สายเฮลท์ตี้ที่ทำง่าย หน้าตาชวนกิน ที่สำคัญวัตถุดิบหาไม่ยาก ราคาย่อมเยา เหมาะมากที่จะเป็นเมนูโปรดของสาวๆ ที่กำลังลดน้ำหนัก และผู้ป่วยที่กำลังเบื่อเมนูเดิมๆ ลองเมนูนี้ดูนะคะ ไม่แน่อาจจะกลายเป็นเมนูเด็ดประจำตัวของคุณก็ได้ 

Power Ball สูตร Homemade

เดือนนี้แม่บ้านคีโมชวนมาทำ ‘พาวเวอร์บอล’ (Power Ball) ของหวานคนรักสุขภาพยอดนิยมที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางอาหารสูง แต่แคลอรีต่ำ อร่อยเพลิน เหมาะกับสาวๆ ที่กำลังไดเอท แต่ชีวิตขาดขนมหวานไม่ได้ นี่คืออีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เราไม่ต้องหักดิบงดของหวานจนโหย ของดีแห่งยุคที่ทำเองได้ง่ายๆ แบบไม่ต้องมีเตาอบก็ทำได้ รับรองว่ารสชาติถูกใจสาวๆ สายเฮลธ์ตี้แน่นอน

ข้าวผัดปลาอินทรี

เดือนนี้แม่บ้านคีโมชวนมาอร่อยกับ ‘ข้าวผัดปลาอินทรี’ อาหารจานเดียวที่สามารถมัดใจคนทั้งบ้านได้ไม่ยาก อีกหนึ่งเมนูที่เหมาะกับวันอยากเคลียร์ตู้เย็น เพราะสามารถใส่ผักสารพัดสีสันที่ค้างอยู่ในตู้เย็นได้เลย นอกจากจะทำให้ข้าวผัดหน้าตาชวนกินแล้ว ยังเพิ่มวิตามินและแร่ธาตุให้ร่างกายมากมาย และสูตรนี้แม่บ้านฯ ยังใช้ ‘ข้าวกล้อง’ ไร้สารเคมีตกค้าง แหล่งของสารอาหารและใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย บอกเลยว่า จานนี้ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง รู้อย่างนี้แล้วจะรออะไร เข้าครัวสิคะ!

ไอติมโยเกิร์ตกราโนล่า

วันนี้เเม่บ้านคีโมมีไอเดียคลายร้อนแบบง่ายๆ แถมอร่อยได้ ไม่ต้องกลัวอ้วนมาฝากกับ ‘ไอติมโยเกิร์ตกราโนล่า’ เมนูสุขภาพแคลอรีต่ำ ชื่นฉ่ำดับร้อนรับวันปีใหม่ไทยๆ ในเทศกาลสงกรานต์ อีกหนึ่งเมนูเปี่ยมคุณค่าทางโภชนาการขั้นสุด ถ้าอยากรู้ว่าจะอร่อยแค่ไหน ก็เข้าครัวกันได้เลยค่ะ

แกงส้มก้านคูน

เดือนนี้แม่บ้านคีโมชวนมาอร่อยกับ ‘แกงส้มก้านคูน’ เมนูพื้นบ้านรสจัดจ้าน จี๊ดจ๊าดถูกปากคนไทย อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย โดยเฉพาะ ‘ก้านคูน’ ที่เป็นพระเอกของเมนูนี้ ซึ่งเป็นยาเย็น มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์มาก โดยเฉพาะมีแคลเซียม และวิตามินซี ช่วยในการบำรุงกระดูก และฟัน รวมถึงช่วยเรื่องของอาการปวดข้อ แก้ไข้หวัด ต้านหวัดหัวลมช่วงเปลี่ยนฤดู อร่อยได้สุขภาพอย่างนี้ ใครสนใจ ก็มาเข้าครัวพร้อมๆ กับแม่บ้านคีโมกันเลย!

เนยอัลมอนด์งาดำ

เดือนนี้แม่บ้านคีโมขอเสิร์ฟ ‘เนยอัลมอนด์งาดำ’ (Almonds sesame butter) ของว่างสุดเฮลธ์ตี้ที่ทำง่ายแสนง่าย แถมกินได้ทุกเพศทุกวัย กินได้ทั้งครอบครัว สำคัญกว่านั้นคือเต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ อีกหนึ่งซูเปอร์ฟู้ดที่อุดมไปด้วยสารอาหารจาก ‘งาดำ’ และราชินีแห่งถั่วอย่าง ‘อัลมอนด์’ เจ้าของฉายา ‘นักสู้ต้านมะเร็ง’ ที่แม่บ้านคีโมไม่อยากให้คุณพลาดด้วยประการทั้งปวง

ต้มจืดมะระยัดไส้หมู

อีกเมนูสุขภาพที่หลายคนอาจจะขยาดเรื่องความขม สำหรับ ‘ต้มจืดมะระยัดไส้หมู’ เมนูที่เราสามารถเอาชนะความขม ด้วยความอร่อย แถมเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการนานัปการ แถมยังเป็นยาระบายอ่อนๆ เหมาะสำหรับคนท้องผูกหรือผู้ป่วยที่ให้ยาเคมีบำบัดมาแล้ว ซึ่งมักมีอาการท้องผูก และยังช่วยให้เจริญอาหารได้ดีเลยทีเดียว

เขาว่ากันว่า…

อาหารเสริมตัวนี้ สมุนไพรชนิดนี้ น้ำยี่ห้อนี้ ป้องกันมะเร็งได้ จริงหรือเปล่าคะคุณหมอ

ขนมมันม่วง

เรียกว่าฮอตไม่เลิกสำหรับ ‘มันม่วง’ วัตถุดิบชั้นเยี่ยมที่นอกจากมีดีที่ไฟเบอร์สูง ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งในระบบทางเดินอาหารแล้ว ยังเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่าง ‘แอนโทไซยานิน’ ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม อีกหนึ่งวัตถุดิบที่แม่บ้านคีโมเลือกมาทำเมนูของว่างทานเล่นในวันสบายๆ แต่ได้สุขภาพแบบเต็มๆ อย่าง ‘ขนมมันม่วง’ ซึ่งสูตรนี้ทำง่ายมาก หากอยากรู้ว่าทำอย่างไร ก็ตามแม่บ้านคีโมเข้าครัวมาได้เลย!

กระดูกหมูตุ๋นเห็ดหอมน้ำดำ สูตรอาม่า

เดือนนี้แม่บ้านคีโมชวนมาอร่อยแบบรำลึกความหลังย้อนความทรงจำไปกับ ‘กระดูกหมูตุ๋นเห็ดหอมน้ำดำ สูตรอาม่า’ อีกหนึ่งเมนูที่ดูเหมือนยาก แต่บอกเลยว่าวิธีทำไม่ยากอย่างที่คิด เหมาะมากที่จะเป็นเมนูครอบครัวในวันหยุด ซดอุ่นๆ ได้ทุกเพศทุกวัย อีกหนึ่งเมนูที่อาจจะกลายเป็นเมนูโปรดประจำโต๊ะอาหารในวันหยุดไปเลยก็ได้

บุญเทียม สิงห์อ่อน แฮงกี้ : สุขภาพสำคัญกว่าความสำเร็จ

“เป็นผู้หญิงบ้าทำงานมาก ไม่เคยใส่ใจสุขภาพ แต่พอเป็นมะเร็งจึงได้รู้ว่า เราควรหันกลับมาดูแลใส่ใจสุขภาพของตัวเองมากกว่าการไล่ไขว่คว้าความสำเร็จ”

หลังจากให้คีโมแล้วรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน พะอืดพะอม เกิดจากสาเหตุอะไร และควรรับประทานอะไรแก้ดี?

เคยสงสัยไหม ทำไมคีโมแล้วต้องคลื่นไส้ อาเจียน วันนี้ ผศ. พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ มีคำตอบให้

รักษามะเร็งด้วยการผ่าตัดเต้านมจนหายเป็นปกติแล้ว สามารถเสริมหน้าอกได้ไหมคะ?

เมื่อเต้านมหายไป จะสร้างขึ้นใหม่ได้ไหม มาฟังคำตอบจาก ผศ. พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ ที่จะเรียกความมั่นใจสาวๆ กลับคืนมาอีกครั้ง

พีรดา พีรศิลป์ : อย่าเสียเวลากับ ‘ความทุกข์’

“เรายังตายไม่ได้ เรายังมีอีกหลายอย่างที่ยังไม่ได้ทำ ตายแบบนี้มันง่ายไป พอคิดได้มันคลิกเลยนะ ทำให้เรารักคนรอบข้างมากขึ้น รู้คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ อย่าเสียเวลากับความทุกข์ เพราะมันทำให้ความสุขของเราน้อยลง”

ภริมธารา ภัทรเทศสกุล : เรียนรู้-ยอมรับ-ปรับใช้ ทฤษฎีไล่ทุก (ข์) มะเร็ง

“ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ในเมื่อเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่ สิ่งที่เราทำได้คือแก้ไขสถานการณ์นั้นและรับมือด้วยวิธีที่สนุกสนาน”

อยากกินขนมพวกเบเกอรี่ กินได้ไหมนะ?

เพราะชีวิตขาดหวานไม่ได้ ปัญหานี้จึงเป็นเรื่องใหญ่ของสาวๆ อย่างเรา มาฟังคำตอบไปพร้อมกันกับ ผศ. พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ กินได้ไหม หรือต้องพักก่อนนนน…

การรักษาด้วยยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะ (Targeted Therapy)

ยาในกลุ่มนี้จัดเป็นยากลุ่มใหม่ เช่น ยาต้านเฮอร์ทู ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างจากยากลุ่มเดิมๆ กล่าวคือ เซลมะเร็งเต้านมบางชนิดจะมีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูอยู่ที่ผิวเซลล์

การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)

คือการใช้ยาที่มีคุณสมบัติในการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลมะเร็ง ยาดังกล่าวสามารถออกฤทธิ์ได้ทั่วร่างกาย ต่างจากการผ่าตัดที่ได้ผลเฉพาะบริเวณที่ผ่าตัดเท่านั้น

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดทุกรายอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดโดยเฉพาะในรายที่ทำการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้

รู้ได้อย่างไรว่าเป็น?

ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมในประเทศไทยส่วนมากจะมาพบแพทย์ด้วยปัญหาก้อนที่เต้านม ซึ่งอาจมีขนาดของก้อนมะเร็งใหญ่เล็กแตกต่างกัน

มะเร็งคืออะไร

คือเซลล์ภายในร่างกายของมนุษย์ที่มีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้

มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร?

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลใดสรุปแน่ชัดถึงสาเหตขุองการเกิดมะเร็งเต้านม เราพบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ

ใครเป็นกลุ่มเสี่ยง

ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสป่วยเป็นมะเร็งเต้านม สถิติในปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเฉลี่ยประมาณ 30-40 คนต่อประชากร 100,000 คน

บทสรุป

มะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้ามาพบแพทย์ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น

Scroll to Top