วิธีการตรวจชิ้นเนื้อมีกี่วิธี วิธีใดบ้าง

การตรวจชิ้นเนื้อสามารถตรวจได้หลายวิธี ได้แก่ 

1) การเจาะด้วยเข็มขนาดเล็ก (Fine needle aspiration, FNA) ซึ่งจะใช้เข็มขนาดเล็กเพื่อเข้าไปดูดเอาเซลล์ออกมาตรวจ

2) การเจาะด้วยเข็มขนาดใหญ่ (Core needle biopsy) ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุด เนื่องจากให้ความแม่นยำมากกว่าการทำ FNA โดยที่แผลไม่ใหญ่มาก และสามารถเอาเนื้อเยื่อไปตรวจย้อมเพิ่มเติมได้หากจำเป็น

3) การผ่าตัดก้อนออกทั้งหมด (Excisional biopsy) คือ การผ่าตัดเปิดแล้วเอาก้อนที่พบออกมาทั้งหมด ความแม่นยำมากกว่า 2 วิธีแรก แต่ต้องทำการผ่าตัดเปิดและมีแผลมากกว่า โดยหากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมอาจจะต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติม

4) การผ่าตัดก้อนออกบางส่วน (Incisional biopsy) เป็นวิธีการที่ต้องผ่าตัดเช่นกันแต่นิยมน้อยกว่ามาก แนะนำให้ทำเฉพาะในรายที่มีแผลหรือรอยโรคที่ผิวหนังร่วมด้วยเท่านั้น หากไม่มีลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติ วิธีนี้ไม่แนะนำค่ะ

ทั้งนี้ การตรวจชิ้นเนื้อนี้ขึ้นอยู่กับความน่าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งเต้านมมากหรือน้อยแค่ไหน หากเป็น BIRADs 4 ซึ่งจะมีระดับย่อยเป็น BIRADs 4a, 4b และ 4c ขึ้นกับความน่าจะเป็นมะเร็งเต้านม หากรายงานเป็น BIRADS 4b, 4c และ 5 แนะนำให้ตรวจชิ้นเนื้อดีกว่าค่ะ แต่หากเป็น BIRADS 4a อาจจะพิจารณาเฝ้าติดตามใกล้ชิด หรืออาจจะตรวจเพิ่มเติมด้วยการทำ MRI ได้ค่ะ

ผศ. พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แชร์ไปยัง
Scroll to Top