‘หินปูน’ ที่เต้านม เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ อย่างไร

หินปูนที่เต้านมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมักจะตรวจพบจากภาพถ่ายทางรังสีเต้านม โดยเฉพาะการตรวจเเมมโมแกรม สาเหตุส่วนใหญ่ไม่ใช่มะเร็ง แต่เป็นภาวะที่เซลล์ของเต้านมมีการเติบโตหรือเสื่อมสภาพได้ตามอายุขัย และหินปูนที่เต้านมไม่เกี่ยวกับการรับประทานแคลเซียม นม หรืออาหารที่มีกระดูกแต่อย่างใด 

หินปูนที่เต้านมสามารถตรวจพบได้หลายลักษณะ แต่โดยทั่วไปแล้วไม่ใช่มะเร็ง ยกเว้นว่าจะมีลักษณะจำเพาะบางอย่างของหินปูนมะเร็ง และหินปูนที่เต้านมมักจะคลำไม่ได้ ยกเว้นว่าจะเป็นหินปูนที่พบร่วมกับก้อนเนื้อเต้านม โดยเมื่อตรวจพบหินปูน การรักษาหรือการตรวจติดตามขึ้นอยู่กับประวัติความเสี่ยงของผู้ป่วย, การตรวจร่างกาย และภาพถ่ายทางรังสีวินิจฉัย เป็นต้น

อย่างไรก็ดี หินปูนที่เต้านมอาจพบร่วมกับมะเร็งเต้านมหรือเป็นลักษณะเฉพาะของมะเร็งเต้านมบางชนิดได้ ดังนั้นควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ เช่น ตรวจติดตาม หรือตรวจเพิ่มเติม หรือทำการเจาะหรือผ่าตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจวินิจฉัยโรค

อาจารย์ นายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์
อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

แชร์ไปยัง
Scroll to Top