การตรวจเต้านมด้วยตนเองควรทําอย่างน้อยเดือนละครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมสําหรับผู้ที่ยังมีประจําเดือน คือ 7-10 วัน หลังจากมีประจําเดือนวัน แรก เช่น มีประจําเดือนวันที่ 10 เป็นวันแรก วันที่เหมาะสมในการตรวจเต้านม คือวันที่ 17-20 เป็นต้น เนื่องจากเต้านมจะอ่อนตัว ทําให้สามารถคลําพบสิ่งผิดปกติได้ง่าย ส่วนกรณี ที่ไม่มีประจําเดือนแล้ว ควรกําหนดวันที่ช่วยให้จําง่าย เช่น ทุกวันที่ 1 ของเดือน ทุกวันที่ 15 ของเดือน เพื่อให้ตรวจเต้านมเองเป็น ประจําทุกเดือน โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ท่านอาจตรวจได้ทั้งในท่ายืน ท่านั่ง หรือท่านอนก็ได้ ในห้องที่ปิดมิดชิด เพราะต้องถอดเสื้อออก วิธีการตรวจ มี 2 ขั้นตอน คือ การดูและการคลํา การดู โดยให้ท่านยืนหน้ากระจกเงา ปล่อยแขนแนบลําตัวทั้ง 2 ข้าง ตามด้วยท่ายกมือ เท้าสะเอว และยกมือทงั้ 2 ข้างไว้เหนือศรีษะ
แต่ละท่าควรสังเกตดูสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
o หัวนม
ตําแหน่งของหัวนมควรอยู่ในระดับเดียวกัน สีผิวของหัวนม เหมือนกัน รูปร่างคล้ายกัน หัวนมไม่ถูกดึงรั้งให้บุ๋มลง หรือเอนไปข้างใด ข้างหนึ่ง ไม่ควรมีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลออกจากหัวนม ไม่ควรมีแผลผิวถลอก หรือแผลจากก้อนนูนแตกออกมาที่ผิว
o ปานนม
ควรมีผิวเนียน และสีเสมอกัน ไม่ควรมีรอยนูนจากก้อนมะเร็งดัน ผิวขึ้นมา หรือรอยบุ๋มจากก้อนมะเร็งดึงรั้งลงไป ไม่ควรมีแผลผิวถลอก หรือแผลจากก้อนนูนแตกออกมาที่ผิว
o ผิวเต้านม
ควรมีผิวเนียน สีผิวเสมอกัน ไม่ควรมีลักษณะผิวบวมหนา รูขุมขนใหญ่ เป็นลักษณะเหมือนผิวส้ม ไม่ควรมีรอยนูน หรือรอยบุ๋มจากการดึงรั้งของก้อนมะเร็ง ไม่ควรมีสีผิวแดงคล้ำ ผิวตึงบางจากการที่ก้อนมะเร็งรุกรานเข้าไปใต้ผิวหนัง ไม่ควรมีรอยแผลแตกทะลุที่ผิวหนัง พร้อมมีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลออกมา
o ระดับและขนาดของเต้านม
เต้านมทั้ง 2 ข้างควรอยู่ระดับเดียวกัน ควรมีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกัน ไม่ควรมีการดึงรั้งขึ้น หรือห้อยลงมา ผิดปกติจากการมีก้อนมะเร็ง หลังจากดูลักษณะเต้านม 2 ข้าง ครบเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านคลําบริเวณ รักแร้ บริเวณเหนือกระดูกไหปลาร้าและคลําเต้านมทั้ง 2 ข้าง
การคลําบริเวณรักแร้และเหนือกระดูกไหปลาร้าทั้ง 2 ข้าง เพื่อดูว่ามีต่อมน้ำเหลืองบริเวณดังกล่าวโตหรือไม่ ท่าที่เหมาะสม คือ นั่งตัวตรง วางแขนข้างที่จะตรวจบนโต๊ะ และใช้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางของแขนอีกข้างคลําลึกเข้าไปในรักแร้ข้างที่จะตรวจ รวมทั้งคลําต่อมน้ำเหลือง บริเวณไหปลาร้าด้วย ทําสลับกันทั้ง 2 ข้าง สังเกตดูว่ามีก้อนที่คลําได้ บริเวณรักแร้หรือเหนือกระดูกไหปลาร้าหรือไม่
การตรวจต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้และไหปลาร้า
การคลําเต้านม ท่านสามารถคลําเต้านมได้ทั้งในท่ายืน และท่านอน โดยในท่ายืนให้ท่านยืนยกแขนข้างที่จะตรวจไว้เหนือศีรษะ หรือในท่านอน ให้ท่านนอนหงายหนุนหมอนเตี้ย ๆ ใช้ผ้าหนุนไหล่ ยกแขนข้างที่จะตรวจ ไว้เหนือศีรษะ จากนั้นใช้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางค่อย ๆ กดลง บนผิวหนังเบา ๆ และกดแรงขึ้นจนกระทั้งสัมผัสกระดกูซี่โครง
สําหรับทิศทางในการคลํา สามารถคลําได้ทั้งเป็นวงกลมจากหัวนม วนตามเข็มนาฬิกาออกไป หรือคลําจากเต้านมส่วนนอก วนตามเข็มนาฬิกาเข้ามาหาหัวนม คลําไล่ขึ้น-ลงจากใต้เต้านมถึง กระดูกไหปลาร้า หรือคลําเป็นแนวรัศมีจากหัวนมออกไปยังด้านนอก ซึ่งทุกแบบมีหลักการเดียวกันคือ คลําทุกส่วนของเต้านมให้ครบถ้วน และต้องบีบที่หัวนม เพื่อดูว่ามีสิ่งคัดหลั่งออกจาก บริเวณหัวนมหรือไม่ หลังจากนั้นให้เปลี่ยนคลําอีกข้างแบบเดียวกัน